‘หัวใจวาย’ หรือ ‘หัวใจล้มเหลว’ คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจสูญเสียการทำงานจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย เกิดได้กับทุกวัย แต่มักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ภาวะหัวใจวายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ และความดันโลหิตสูงจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถดูแลรักษาควบคุมไม่ให้อาการทรุดลงได้
สาเหตุภาวะหัวใจวาย
สาเหตุจากหัวใจ
อาการช็อกและหมดสติกระทันหัน เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะหัวใจวายที่พบบ่อยที่สุด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ติดเชื้อ
โรคลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ
จากสาเหตุอื่น
โรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานและโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ทั้งสิ้น
อาการของผู้ที่เป็นภาวะหัวใจวาย
อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย
ขาบวม
แน่นหน้าอกตอนกลางคืน นอนราบไม่ได้ ลุกมาไอตอนกลางคืน
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
การป้องกันเบื้องต้น
ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ
สำรวจตนเองว่ามีอาการน่าสงสัย เช่น เหนื่อยง่าย ขาบวม แน่นหน้าอก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและรสเค็มจัด เลิกสูบบุหรี่
รักษาโรคที่เป็นสาเหตุภาวะหัวใจวาย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไทรอยด์เป็นพิษ