Shopping Cart

No products in the cart.

ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง Full Endoscopic

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม ด้วยเหตุนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็ก แทนการประคับประคองอาการไปเรื่อย ๆ ที่ไม่ได้ทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้นแต่อย่างใด

โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Full Endoscopic คืออะไร และแตกต่างจากการผ่าตัดทั่ว ๆ ไปอย่างไร ในวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักวิธีการผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดเล็กให้มากขึ้นกันดีกว่า เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยที่กำลังทรมานกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาทนั่นเอง

ข้อดี การผ่าตัดแบบส่องกล้อง

รู้จักและเข้าใจ การผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็ก Full Endoscopic

Endoscope เป็นชื่อเรียก กล้องชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งแพทย์จะใช้เจ้ากล้องตัวนี้ร่วมกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท ที่โดยส่วนมากจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยระหว่างการผ่าตัดทางทีมแพทย์จะใช้กล้อง Endoscope ติดเลนส์ตรงปลายท่อเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 7.9 มิลลิเมตร สอดเข้าไปในบาดแผลขนาด 0.8-1 เซนติเมตร บริเวณด้านข้างหรือด้านหลังผ่านท่อขนาดเล็กเพียงแผลเดียว ซึ่งต่างจากการผ่าตัดแบบทั่วไปที่ทางทีมแพทย์ไม่จำเป็นต้องเปิดบาดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่จนเสียเลือดมาก หรือเลาะกล้ามเนื้อบางส่วนออกเลย

นอกจากนี้การผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดเล็ก Full Endoscopic ขณะสอดเข้าไปในบาดแผลยังทำมุมเอียงเล็กน้อย เพื่อช่วยในการมองเห็นรอบ ๆ ด้าน อีกทั้งภายในยังประกอบไปด้วยใยแก้วนำแสง และท่อส่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งท่อดังกล่าวแพทย์จะสอดเครื่องมือผ่าตัดเข้ามาทางนี้ด้วยเช่นกัน

ผ่าตัดแบบส่องกล้อง

ความแตกต่างระหว่างผ่าตัดแบบส่องกล้อง Microscope และ Endoscope

ในปัจจุบันกล้องที่ใช้ควบคู่กับการผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็กนั้น มีด้วยกัน 2 ตัว ได้แก่ กล้อง Microscope และกล้อง Endoscope ทั้งสองมีประสิทธิภาพในการใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งจะต่างกันมากน้อยแค่ไหนนั้น ตามไปหาคำตอบกันได้เลย!

  • กล้อง Microscope หรือกล้องจุลทรรศน์ ในทางการแพทย์มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยจะทำการตั้งกล้อง Microscope ไว้นอกตัวผู้ป่วย เพื่อใช้ขยายภาพบริเวณที่ต้องทำการผ่าตัด และแม้นี่จะเป็นการเปิดแผลผ่าตัดขนาดเล็กก็ตาม ทว่าอาจจะต้องเลาะกล้ามเนื้อและกระดูกบางส่วน เพื่อให้แพทย์เห็นจุดที่เป็นต้นตอของปัญหาได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเลือดมากและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
  • กล้อง Full Endoscopic เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยกล้อง Full Endoscope มีลักษณะขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.9 มิลลิเมตร ซึ่งภายในมีระบบนำแสงพิเศษไว้สำหรับสอดเครื่องมือ ก่อนที่แพทย์จะสอดหลอดที่มีกล้อง Endoscopic ติดอยู่ผ่านทางแผลขนาด 0.8-1 เซนติเมตร เข้าไปในตัวผู้ป่วย เพื่อทำการผ่าตัดหลังต่อไป อีกทั้งการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscopic ไม่จำเป็นต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจึงไม่เสียเลือดมาก ลดการบอบช้ำของเนื้อเยื่อ พักฟื้นไม่นานก็หายเป็นปกติ และลดอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดลงได้อย่างแน่นอน

ผ่าตัดแบบส่องกล้อง Full Endoscopic

ข้อดีของการผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็ก

จากที่เกริ่นมาคุณคงจะเห็นแล้วว่า การผ่าตัดแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็กผ่านกล้อง Endoscopic ต่างจากการผ่าตัดทั่วไปอย่างไร ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดในลักษณะนี้นั้นมีมากมายหลากหลายข้อ โดยสามารถสรุปออกมาได้ ดังต่อไปนี้

  • ผ่าตัดได้อย่างแม่นยำและตรงจุด โดยแพทย์จะดูภาพผ่านจอมอนิเตอร์
  • ลดอาการบาดเจ็บหรือบอบช้ำของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
  • เป็นการผ่าตัดแบบเปิดแผลผ่าตัดขนาดเล็ก จึงเสียเลือดน้อย
  • ลดความเสี่ยงการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง และป้องกันการเกิดพังผืดรัดเส้นประสาท
  • ไม่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานเท่าการผ่าตัดทั่วไป

การผ่าตัดผ่านกล้อง Full Endoscopic ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

รู้หรือไม่ว่า การผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็กผ่านกล้อง Endoscopic สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่า การผ่าตัดหลังแบบแผลเปิดทั่วๆ ไป ซึ่งภาวะแทรกซ้อนข้างต้น ได้แก่…

  • การติดเชื้อบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง และติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด มีโอกาส 1-2%
  • ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (Dural Tear) มีโอกาส 1-2%
  • โอกาสการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทซ้ำ (Recurrent Disc Herniation) เหลือเพียง 5%

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง Full Endoscopic

สรุป

การผ่าตัดหลังแบบแผลผ่าตัดขนาดเล็กด้วยกล้อง Endoscopic เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท ที่แพทย์อยากแนะนำ เพราะการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscopic ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้าง หากแต่เปิดแผลขนาดเล็กราว ๆ 0.8-1 เซนติเมตร เพียงพอที่จะสอดกล้องเข้าไปได้ ซึ่งจะช่วยลดการบอบช้ำของเนื้อเยื่อ ลดการเสียเลือดมาก ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว รวมถึงลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอีกด้วย

ดังนั้น หากใครที่กำลังเผชิญกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท และสนใจอยากทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแบบแผลผ่าตัดเล็ก Full Endoscopic ล่ะก็ ลองมาขอคำปรึกษาที่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ สิ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่พร้อมให้บริการคุณอย่างมืออาชีพ!

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์
นพ. วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์