Shopping Cart

No products in the cart.

การตรวจหลอดเลือดสมอง

‘โรคหลอดเลือดสมอง’ เป็นโรคร้ายแรงก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาสุขภาพ และหมั่นตรวจเช็กร่างกาย รวมถึงตรวจหลอดเลือดสมองอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน เพื่อให้เรารู้ทันและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างทันท่วงที

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยมีอัตราการเกิดมากสุดในคนที่อายุ 60-65 ปีขึ้นไป พบว่าปัจจัยเสี่ยงนอกจากเรื่องอายุแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ความอ้วน วิถีการดำเนินชีวิตที่เคลื่อนไหวน้อย ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ การกินอาหาร ที่ขาดกากใย ทานอาหารขยะ มีเกลือสูง ไขมันชนิดไม่ดีสูง

สำหรับคนที่มีความเสี่ยง หากมาตรวจเช็คสุขภาพร่างกายก่อนที่จะเกิดโรค ก็สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ โดยการตรวจเพื่อป้องกันและหาความเสี่ยงนอกจากการตรวจสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังมีการตรวจคัดกรองทางหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัย โดยการใช้เครื่องอุลตร้าซาวน์หลอดเลือดสมอง การตรวจหลอดเลือดสมองจะมีการตรวจสองส่วน คือ ส่วนนอกและในกระโหลก การตรวจหลอดเลือดชนิดนี้หากพบว่ามีการตีบใน ระดับรุนแรงและมีความเสี่ยงสูงในการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดตาม มาจนเกิดโรคในอนาคต เราสามารถทำการรักษาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้เป็นอัมพาตได้

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (โรคนี้มีทั้งชนิดเส้นเลือดแตกกับชนิดตีบอุดตัน แต่ในบทความนี้ขอเน้นกล่าวถึงชนิดตีบและอุดตัน) โดยการรักษาจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1. ระยะฉุกเฉิน การรักษาในช่วงนี้ความสำคัญคือต้องรีบมารักษาที่โรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด เมื่อมีอาการทางระบบประสาท เช่น หน้าเบี้ยวตามองไม่เห็น แขนขาชา อ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก ลิ้นแข็ง ฟังไม่เข้าใจอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอาการร่วมกันที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันให้รีบมาโรงพยาบาลทันที หากมาทันก่อนที่ สมองจะตายจากการขาดเลือด อาการก็จะดีขึ้น หรือบางรายอาจหายเป็นปกติได้ ซึ่งการ รักษาในช่วงแรก (โดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังจากเกิดโรค) มีความจำเป็นในการที่จะต้อง ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่วงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรคได้มากที่สุด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้จะทำให้อาการของคนไข้แย่ลง และอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ส่วนที่ 2. รักษาอาการระบบประสาทบกพร่อง เช่น แขนขาที่อ่อนแรง การพูด การใช้ภาษา ที่ผิดปกติ โดยการกายภาพฟื้นฟู ทางแผนกกายภาพบำบัดจะมีการออกแบบโปรแกรมการ ฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
  • ส่วนที่ 3. การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ ส่วนนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้วมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ซ้ำอีกได้

การป้องกันทำได้โดยควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การไม่สูบบุหรี่ การออกกำลังกายที่เพียงพออย่างประจำ นอกเหนือจากนั้นความเสี่ยงยัง ขึ้นกับชนิดและตำแหน่งของเส้นเลือดที่เป็นด้วย ซึ่งการให้ยาต้านเกร็ดเลือด ยาละลาย ลิ่มเลือด

การผ่าตัดหลอดเลือด การใส่เส้นลวดในหลอดเลือด (stent) ในผู้ป่วยแต่ละราย เลือกใช้แตกต่างกันไปโดยขึ้นกับชนิดและตำแหน่งของหลอดเลือดที่มีปัญหา

ดังนั้นการตรวจหลอดเลือดสมองและการตรวจหัวใจจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการรักษา ผู้ป่วยโรคนี้ การตรวจหลอดเลือดสมองมีหลายวิธี โดยวิธีที่นิยมได้แก่ การตรวจหลอดเลือด ด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็ก หรือ MRI ( MRA- Magnetic Resonance Angiogram ) และการตรวจหลอดเลือดด้วยคลื่นอุลตร้าซาวน์ (CDUS & TCD – Carotid Duplex Ultrasonography & Transcranial Doppler Ultrasonography)

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ. ประวีณา ดิเรกวัฒนชัย
พญ. ประวีณา ดิเรกวัฒนชัย
เเพทย์ประจำสาขาโรคระบบประสาทเเละสมอง โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์