เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และมักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาผิดปกติ ทำให้จอประสาทตาบวม/เกิดเส้นเลือดผิดปกติ เลือดออกในตา หรือเกิดพังผืดดึงรั้ง จอประสาทตาหลุดลอก จนสูญเสียการมองเห็นได้


ใครที่ควรตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทตาบ้าง
- ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทันที
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจตาครั้งแรกแล้วไม่พบอาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตาควรตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละครั้ง
- ผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานขึ้นจอตาแล้ว จำเป็นต้องตรวจบ่อยขึ้น เช่น ทุก 3-6 เดือนหรือตามคำแนะนำของแพทย์
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจตั้งแต่ช่วงโตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
*หลังหยอดยาขยายม่านตา
ผู้รับบริการอาจมีอาการตามัว สู้แสงไม่ได้ 4 – 6 ชั่วโมง
ควรเตรียมแว่นกันแดด และงดการขับขี่ยานพาหนะ
ทุกชนิดในวันที่เข้ารับการตรวจ*