Shopping Cart

No products in the cart.

รพ.ไทยนครินทร์ เปิดศูนย์ทางเดินอาหารโฉมใหม่ เคลียร์ชัด โรคทางเดินอาหาร รู้เร็ว รักษาไว ส่องกล้องชัด พร้อมนวัตกรรม AI

Share
รพ.ไทยนครินทร์ เปิดศูนย์ทางเดินอาหารโฉมใหม่ ‘AI-Assisted Digestive Health Screening for Early Detection’ เคลียร์ชัด โรคทางเดินอาหาร รู้เร็ว รักษาไว ส่องกล้องชัด พร้อมนวัตกรรม AI

นพ.เจริญ มีนสุข ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 31 ปี โรงพยาบาลไทยนครินทร์มีผู้มารับบริการเพิ่มมากขึ้น และเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการบริหารที่มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในราคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ โดยโรงพยาบาลมีการพัฒนาด้านการให้บริการทางการแพทย์ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการตรวจรักษาและให้บริการ รองรับการเติบโตของตลาดสุขภาพที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และสังคมผู้สูงวัย

ศ.คลินิก นพ.ทิพชาติ บุณยรัตพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบัน Lifestyle การใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เร่งรีบมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเครียด ประกอบกับการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลไทยนครินทร์เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีการปรับปรุงและขยายพื้นที่บริเวณชั้น 12 เป็นศูนย์ทางเดินอาหารโฉมใหม่ ที่พร้อมให้การบริการแบบ One stop service โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ไปจนถึงโรคยากและซับซ้อน และมีการนำเทคโนโลยีการส่องกล้องด้วย Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาจากศูนย์ฟูจิที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรค ซึ่งทำให้การรักษามีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น

“นอกจากการใช้เทคโนโลยี AI ที่เป็นนวัตกรรมการแพทย์ล่าสุดที่ทันสมัยแล้ว เรายังมีทีมแพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินอาหาร (GI ENDOSCOPY TEAM) พร้อมทีมศัลยแพทย์  (MIS GI SURGICAL TEAM)  ที่มีความชำนาญการด้านการผ่าตัดแผลเล็ก รวมถึงมีวิสัญญีแพทย์พร้อมดูแลความปลอดภัยระหว่างการทำหัตถการตลอดเวลา และยังมีทีมสหสาขาวิชาชีพที่จะให้การดูแลหลังการผ่าตัด พร้อมให้บริการการดูแลฟื้นฟูสุขภาพแบบมืออาชีพและอบอุ่น (Hospitality)  รวมถึงยังมีการวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalized Healthcare) จนเรียกได้ว่าโรงพยาบาลไทยนครินทร์นั้น มีการดูแลผู้ป่วยแบบครอบคลุมทุกมิติ”

นพ.สิทธิยศ จันทรสาขา หัวหน้าแพทย์ศูนย์ทางเดินอาหารโรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวถึงจุดเด่นในการให้บริการของศูนย์ทางเดินอาหารใหม่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ว่ามีความโดดเด่นในด้านการให้บริการ การรักษา โดยอายุรแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านการส่องกล้อง (Endoscopy) ทั้งการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ (Gastroscopy & Colonoscopy)  และยังมีวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลให้การดูแลในระหว่างการส่องกล้อง ซึ่งถือเป็นมาตรฐานในการดูแลให้บริการส่องกล้องทางเดินอาหารของศูนย์ฯ  และที่ถือเป็นอีกจุดเด่นสำคัญของการบริการก็คือ การผสมผสานเทคโนโลยีใหม่อย่าง AI-Assisted Colonoscopy เข้ามาช่วยในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยเสริมการมองเห็นและประสิทธิภาพในการตรวจของแพทย์ ทำให้สามารถตรวจพบรอยโรคที่อาจมองข้ามไปในวิธีการตรวจแบบเดิม ช่วยลดความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสการรักษาโรคในระยะแรกเริ่ม และเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้การรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านสุขภาพกายและความพึงพอใจของผู้มารับบริการ”

รศ.นพ.ไชยรัตน์ ทรัพย์สมุทรชัย ศัลยแพทย์ที่ปรึกษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ กล่าวถึงความพร้อมของทีมแพทย์ศัลยแพทย์(MIS GI SURGICAL TEAM) ในการดูแลรักษาผู้ป่วยว่า “การผ่าตัดส่องกล้อง หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีและเทคนิคที่ทันสมัย รวมถึงการใช้แขนกลหุ่นยนต์ (robotic surgery) และการผ่าตัดผ่านกล้องที่มีความละเอียดสูงสุดระดับ Medical Grade 4K Display ซึ่งช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น การผ่าตัดผ่านกล้องมีข้อดีหลายประการ เช่น เจ็บปวดน้อยลง เสียเลือดน้อย ฟื้นฟูสุขภาพได้เร็วขึ้น และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัดแบบเปิดทั่วไป

นอกจากนี้ เราได้ใช้เทคโนโลยี Indocyanine Green (ICG) ร่วมกับกล้องตรวจแบบ Fluorescence เพื่อช่วยในการมองเห็นเนื้อเยื่อหรือหลอดเลือดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดและลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งและการตรวจหาต่อมน้ำเหลือง การใช้เทคโนโลยี ICG ยังช่วยให้การเชื่อมต่ออวัยวะ (Anastomosis) เป็นไปอย่างสมบูรณ์
ลดความเสี่ยงในการรั่วซึมหลังผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและปลอดภัย