Shopping Cart

No products in the cart.

หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือภาวะหัวใจเต้นระริก (Atrial Fibrillation)

ภาวะหัวใจเต้นระริก (Atrial Fibrillation) หรือ AF คือภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เกิดในหัวใจด้านบนทั้ง 2 ข้าง มีทั้งเต้นเร็ว เต้นช้า และไม่สม่ำเสมอ ซึ่งภาวะเหล่านี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายส่วนอื่นขาดเลือด อาหาร และออกซิเจน ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke ได้

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นระริก 

  1. โรคหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างโตเกินปกติ
  2. ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ เบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว
  3. ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดลิ้นหัวใจ ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  4. ความเครียด อ่อนล้า ดื่มสุราจัด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่

ภาวะหัวใจเต้นระริก (Atrial Fibrillation)

อาการของภาวะหัวใจเต้นระริก หรือ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นระริก หรือ AF ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อน โดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนที่เหลือผู้ป่วยมาพบแพทย์เนื่องจากอาการดังต่อไปนี้
  • มีอาการสมองขาดเลือดไม่ทราบสาเหตุ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยมากขณะออกกำลังกาย
  • เป็นลมหมดสติ

หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจระริก หรือ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

1. การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจ
2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
3. การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฎิบัติการ เช่น
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจเอกซเรย์ปอด
  • การตรวจหาภาวะซีดโลหิตจางหรือไตวาย
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

ทำอย่างไรถึงจะทราบว่าเป็นโรคหัวใจเต้นระริก หรือ AF

ทุกคนสามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยการฝึกตรวจชีพจรข้อมือ เริ่มต้นโดยหงายข้อมือที่ไม่ถนัด คลำโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างที่ถนัด สัมผัสการเต้นของชีพจร (จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระทบนิ้วเราเบาๆ) ในขณะที่จับชีพจรให้จับเวลาด้วย นับการเต้นของชีพจรเต้นตุ๊บๆ ของชีพจร นับไปจนครบ 1 นาที ถ้าจับชีพจรแล้วได้น้อยกว่า 60 หรือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือเต้นตุ้บๆๆๆ ไม่สม่ำเสมอ เบามั่งแรงมั่งโดยที่ไม่ได้ไปออกแรงออกกำลังมาก่อน หรือไม่มีสาเหตุอื่นๆ ให้สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์ทันที

หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

แนวทางในการรักษาโรคหัวใจเต้นระริก

การรักษาภาวะหัวใจระริกเพื่อรักษาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนเป็นหลัก ซึ่งมีผลช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้ โดยมีวิธีการหลายอย่าง ดังนี้
  • ใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Warfarin)
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) ให้กลับเต้นปกติ
  • การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation) หรือความเย็นจัด (Cryoablation) ทำให้หัวใจกลับเต้นปกติ

Heart Center
ชั้น 3 โรงพยาบาลไทยนครินทร์

Share