Medical Technology
64 slice CT scan
เป็นการตรวจทางการแพทย์สามารถสร้างภาพตามแนวตัดและแนวขวาง 3 มิติของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูงในการแปลงสัญญาณภาพ
- ระบบสมอง : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Brain)เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง หรือการวินิจฉัยหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสารทึบรังสี(Cerebral Angiography) ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ
- ระบบช่องท้องและทรวงอก : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจหาเนื้องอกระยะเริ่มต้นในลำไส้ใหญ่ (Colonography CT) และเนื้อเยื่อในปอด (Lung lesion and Lung CT)
- ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกสันหลัง มักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อกระดูกหรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง
- ระบบหลอดเลือด : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ(Coronary CT Angiography) การตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ 64 slice CT scan จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที ซึ่งแล้วแต่ระบบที่จะตรวจ และบางกรณีอาจต้องมีการให้สารทึบรังสีโดยการฉีด กิน หรือ สวน ขึ้นอยู่กับอวัยวะหรือระบบที่ตรวจ เพื่อทำให้เกิดความแตกต่างของความทึบต่อรังสีกับอวัยวะที่ต้องการตรวจ และอวัยวะใกล้เคียง
ข้อดีของเครื่อง 64 slice CT scan
- มีความละเอียดในการตรวจ
- มีความแม่นยำ
- ใช้เวลาน้อย
การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับตรวจ
- งดน้ำ งดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 4- 6 ชั่วโมง
- แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ กรณีต่อไปนี้
• สตรีตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
• ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีมาก่อน
• ผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารทะเล - มีผลตรวจเลือดแสดงการทำงานของไต (serum creatinine) ภายใน 1 เดือน นับจากวันเจาะจนถึงวันตรวจ ท่านสามารถที่จะเจาะเลือดจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน และนำผลมาวันตรวจได้
การปฏิบัติตัวในระหว่างการตรวจ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยทำการตรวจในระบบช่องท้องส่วนบน และช่องท้องทั้งหมด ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำ ที่มีส่วนผสมของสารทึบรังสี
- ในกรณีผู้ป่วยทำการตรวจระบบช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด บางครั้งอาจมีการสวนสารทึบรังสี ผสมน้ำเข้าทางทวารหนัก เพื่อช่วยในการแสดงตำแหน่งของลำไส้ใหญ่แยกออกจากอวัยวะใกล้เคียง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประจำห้อง เช่น การหายใจเข้า-ออก และกลั้นหายใจ เพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน (ไม่เกิดภาพไหวเพราะเนื่องมาจากการหายใจ)
- ในขณะที่ทำการตรวจ เตียงตรวจจะเลื่อนเข้า-ออก พร้อมมีเสียงดังจากการทำงานของเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุมดูแลอยู่ ในขณะกำลังถ่ายภาพเอกซเรย์ เจ้าหน้าที่จะดูแลท่านผ่านทางโทรทัศน์วงจรปิดขณะเดียวกันถ้าท่านมีอาการผิดปกติอื่นๆ ท่านสามารถพูดติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที ผ่านทางไมโครโฟนที่ติดอยู่กับตัวเครื่อง
ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้หลังการฉีดสารทึบสีให้แจ้งพยาบาล หรือรังสีแพทย์ทันที
- หายใจไม่สะดวก อึดอัด ใจสั่น หน้ามืด
- อาการคัน มีผื่นแดงตามร่างกาย ใบหน้า
- อาการปวด บวมแดง รอบๆ ตำแหน่งที่แทงเข็ม
การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ
เนื่องจากสารทึบรังสีที่ถูกฉีดเข้าไปจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โดยผ่านการกรองที่ไต
ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีควรดื่มน้ำมากๆ (1-2 ลิตร หรือ 5-10 แก้ว) ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเสร็จสิ้นการตรวจ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่แผนกรังสีวินิจฉัย ต่อ 3021
MRI 3Tesla
เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เป็นเครื่องมือบันทึกภาพทางการแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค และติดตามผลการตรวจรักษา โดยอาศัยการส่งถ่ายพลังงานคลื่นวิทยุจากขดลวดส่งคลื่นความถี่วิทยุ ไปยังผู้ป่วยซึ่งนอนอยู่ในสนามแม่เหล็กแรงสูง (อุโมงค์) พลังงานเหล่านี้จะสะท้อนกลับมายังตัวรับสัญญาณ โดยสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะถูกเปลี่ยนแปลงตามคุณสมบัติของเนื้อเยื่อและหลอดเลือด ซึ่งอาจใช้เวลาในการตรวจนาน 30-60 นาที แต่ข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ของร่างกายและไม่มีรังสีเอกซเรย์
MRI : สามารถหาความผิดปกติของระบบอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค เช่น
- ระบบสมอง : สมองขาดเลือด เนื้องอกสมอง การอักเสบติดเชื้อของเนื้อสมอง และเยื่อหุ้มสมอง ค้นหาสาเหตุการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก ความผิดปกติแต่กำเนิดในเด็ก
- ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ : กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังคดหรือเสื่อม หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เนื้องอกกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง การติดเชื้อกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง การบาดเจ็บของไขสันหลัง
- ระบบหลอดเลือดในสมองและส่วนคอ : หลอดเลือดแดง ตีบ แตก หรือตัน หลอดเลือดดำอุดตัน หลอดเลือดผิดปกติโดยกำเนิด
- ระบบช่องท้อง : ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ทางเดินน้ำดี มดลูก รังไข่ และต่อมลูกหมาก เป็นต้น
- ระบบทรวงอก : ตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ และเต้านม เป็นต้น
ประโยชน์ของ MRI
- ไม่มีรังสีเอกซเรย์ที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย
- เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่การตรวจไม่ต้องได้รับการฉีดสารเพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อและผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล
ขั้นตอนในการตรวจ
ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่อง ลักษณะคล้ายอุโมงค์ และจะมีการใส่อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ โดยมีลักษณะที่แตกต่างไปขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ โดยผู้ป่วยต้องนอนในอุโมงค์อย่างน้อย 30 – 60 นาที ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ การตรวจจะแบ่งเป็นชุดๆ ในแต่ละชุดใช้เวลานาน 3 – 5 นาที
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
ไม่ต้องงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจ ยกเว้น การตรวจในช่องท้อง
วันที่มารับการตลรวจ งดใช้เครื่องสำอาง เช่น อายแชโดว์ มาสคาร่า เนื่องจากมีส่วนผสมของโลหะ ซึ่งจะรบกวนคลื่นแม่เหล็ก
วันตรวจควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน
ผู้ป่วยและครอบครัวควรอ่านเอกสารแนะนำ “การปฏิบัติตัวเมื่อเข้ารับการตรวจโดยเครื่อง MRI” และซักถามเจ้าหน้าที่แผนกรังสีวินิจฉัยให้เข้าใจ
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
เนื่องจากเครื่องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา ทำให้มีผลต่อการทำงาน และการขยับของอุปกรณ์ที่มีส่วนผสมของโลหะ ทั้งที่อยู่ในร่างกาย หรือที่ติดมากับผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบ ทั้งแพทย์ พยาบาลและผู้ดูแล ในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ป่วยรับการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจบางรุ่น (Cardiac pacemaker)
- ผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ชนิดโลหะ
- ผู้ป่วยผ่าตัดใส่คลิปหนีบหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm clips)
- ผู้ป่วยผ่าตัดใส่เครื่องช่วยฟังที่ฝังในกระดูกหู
- ผู้ป่วยมีโลหะต่างๆ อยู่ในร่างกาย เช่น ข้อเทียมต่างๆ โลหะดามกระดูก กระสุนปืน
- มีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะติดอยู่ที่ตา
- ตั้งครรภ์โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรก
- กลัวที่แคบ (Claustrophobia) หรือไม่สามารถนอนราบในอุโมงค์ตรวจได้
การปฏิบัติตัวหลังรับการตรวจ
- สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น กรณีที่ได้รับการฉีดสารเพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อเข้าทางหลอดเลือดดำ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นขึ้น ควรมาพบแพทย์
- มาตรวจและฟังผลการตรวจตามวันเวลาที่นัดหมาย
Vital Beam
Linear Accelerator (Varian; Vital Beam)
เป็นเครื่องฉายรังสีที่ใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานสูง ที่สามารถปรับรูปแบบลำรังสีให้เหมาะกับขนาดและรูปร่างของก้อน โดยจะทำลายเซลล์มะเร็งในขณะที่อวัยวะปกติข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อย ใช้ระยะเวลาในการฉายรังสี 10-15 นาที/ครั้ง โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
Radiography Techniques
Three Dimensional Conformal Radiotherapy (3D-CRT)
is a treatment that uses computerized tomography images to visualize tumor masses and normal organs in three dimensions to define the treatment boundaries based on CT images. Through the CT simulation method, the radiation dose distribution becomes more uniform and accurate, allowing higher radiation doses to be delivered specifically to cancerous cells and reducing the amount of radiation that hits normal tissue around cancer cells.
Intensity Modulated Radiation Therapy (IMRT)
is an advanced development of Three-Dimensional Conformal Radiotherapy (3D-CRT). It allows for the customization of radiation doses to suit the thickness or thinness of a cancerous tumor. It is a method that utilizes varying intensities of radiation and includes a diverse set of radiation sizes., resulting in optimal coverage of the affected area. As a consequence, the surrounding organs of the tumor receive lower radiation doses compared to traditional radiotherapy techniques.
Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT)
เป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดของการฉายรังสี ซึ่งพัฒนามาจากเทคนิคการฉายรังสีแบบ IMRT มีการปรับความเข้มของลำรังสี สามารถควบคุมความเร็วของการหมุน ปริมาณของรังสี และการเคลื่อนที่ของวัตถุกำบังรังสี (MLC) จึงช่วยลดระยะเวลาของการฉายรังสี และลดความผิดพลาดที่เกิดจากการขยับตัวของผู้เข้ารับบริการอีกด้วย รวมทั้งทำให้การฉายรังสีมีความถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับความหนา-บางของก้อนมะเร็งได้ ทำให้ครอบคลุมบริเวณรอยโรคได้มากที่สุด ส่งผลให้อวัยวะโดยรอบของก้อนมะเร็งนั้นๆ ได้รับรังสีน้อยกว่าเทคนิคการฉายรังสีแบบเดิม
Radiosurgery
รังสีศัลยกรรม หรือรังสีร่วมพิกัด คือ เป็นการรักษาโดยการให้รังสีเอกซ์ปริมาณสูงไปยังเป้าหมายด้วยความแม่นยำ จุดประสงค์เพื่อทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ใช้เป็นทั้งการรักษาหลักในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้เป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัด ซึ่งสามารถให้การรักษาได้ทั้งบริเวณสมอง ไขสันหลัง(SRS/SRT) และบริเวณลำตัว (SBRT) เช่น ปอดและตับ โดยรังสีศัลยกรรมมีความแตกต่างจากการฉายรังสีแบบทั่วไป คือจะมีการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูงกว่า แต่จำนวนครั้งของการฉายรังสีจะน้อยกว่า นอกจากนี้ รังสีศัลยกรรมสามารถจำกัดรังสีปริมาณสูงให้อยู่เฉพาะบริเวณก้อนเนื้องอก หรือมะเร็งได้ดีกว่าการฉายรังสีแบบทั่วไป
Stereotactic Radiotherapy (SRT)
is a high-dose radiation therapy delivered in 3-7 sessions for tumors located in the head or spine. This approach aims to reduce side effects from single-session radiation therapy. However, it has limitations in requiring specialized equipment. It allows for precise positioning.
Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT)
Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT) is a high-dose radiation treatment for tumors located in the body, such as the lungs, liver, or lymph nodes. This approach involves delivering radiation in 3-7 sessions.