Shopping Cart

No products in the cart.

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic Spine Surgery

ผ่าหลังผ่านกล้องแผลเล็ก ‘เจ็บน้อย ไม่ปวด ฟื้นตัวไว’

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงยังมีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกตามวัย ซึ่งการรักษาที่จะทำให้หายขาดจากความเจ็บปวดด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันได้มีเทคนิควิธีการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ‘การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Full Endoscopic’ เป็นการรักษาที่จุดที่ทำให้เกิดโรคด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก มีความเสี่ยงน้อยลง ฟื้นตัวเร็ว ไม่ปวด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเร็ว

 

 

Full Endoscopic Spine Surgery คืออะไร

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผ่านท่อขนาดเล็กเพียงแผลเดียว (Single Portal) จากทางด้านข้างและด้านหลัง โดยมีระบบน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อให้มองเห็นชัดเจน และมีการใช้ Bipolar/Radiofrequency ช่วยจี้หยุดเลือดขณะที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดผ่านจอมอนิเตอร์ (Monitor) ช่วยให้การผ่าตัดรักษาแก้ปัญหาได้ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยอาศัยชุดเครื่องมือการผ่าตัดเฉพาะทางทั้งหมด ศัลยแพทย์และทีมผ่าตัดต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้านเพื่อการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

อาการแบบนี้…เหมาะการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus, HNP) เกิดจากการทำงานหนัก ยกของหนัก อุบัติเหตุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอว ปวดหลังร่วมกับมีอาการร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง (ส่วนใหญ่พบในวัยทำงาน)
  • โพรงประสาทไขสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar Spinal Stenosis, LSS) จากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง จะมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ร้าวลงขาเมื่อเดิน ยิ่งเดินมากยิ่งปวด ชา อ่อนแรง หยุดพักการเดินจึงจะเบาลง เมื่อโรคมีความรุนแรงขึ้น อาการปวดจะมากขึ้น ถี่ขึ้น เกิดได้เร็วขึ้นหลังจากเดินเป็นระยะทางน้อยลง (ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุ)

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic Spine Surgery

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic

  • ผ่าตัดภายใต้การมองเห็นที่ชัดเจนทั้งแสงและการขยายภาพ (Excellent Magnification and Vision)
  • บาดเจ็บเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกน้อยมาก
  • แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย ลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล
  • ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ไม่มีพังผืดรัดเส้นประสาท
  • หากต้องมีการผ่าตัดในครั้งต่อไป เนื้อเยื่อต่างๆ จะเหมือนเนื้อเยื่อปกติ

ข้อเสียมีหรือไม่?

  • วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ไปไกลมาก
  • การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยได้แม่นยำ จากการตรวจร่างกายและผลเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่มีประสบการณ์และมีความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือสูง จึงจะได้ผลการรักษาที่ดี และผลแทรกซ้อนน้อย
  • เครื่องมือมีราคาแพงมาก

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic Spine Surgery

ดูแลหลังผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก Full Endoscopic

  • นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1 คืน
  • สามารถลุกเดินได้เลยหลังผ่าตัด
  • ใส่ที่พยุงหลัง (L-S Support) เพื่อพักเนื้อเยื่อ และเป็นตัวช่วยเตือนในการจำกัด Activity 1 สัปดาห์
  • สามารถกลับเข้าทำงานและเริ่มออกกำลังกายได้ในสัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด
Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์
DR. VIWAT CHAVALPARIT, M.D
Orthopedist, Bone & Joint Center, Thainakarin Hospital
ข้อมูลแพทย์