กล่าวได้ว่า Endoscopic Discectomy หรือ Foraminotomy คือหนึ่งในการผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery) ที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อประเภทกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุดได้จริง โดยวิธีนี้สามารถใช้ได้กับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแทบทั้งหมด รวมถึงใช้รักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท (Lateral Recess or Central Spinal Stenosis) และโรคถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกสันหลัง (Facet Cyst) โดยการผ่าตัดผ่านกล้องจะให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่แพ้การผ่าตัดแบบปกติเลย
การผ่าตัดส่องกล้อง คืออะไร รู้จัก ‘Full Endoscopic Spine Surgery’
คำว่า ‘กล้อง’ ในที่นี้ หมายถึง เครื่องมือขนาดเล็กที่ใช้ประกอบการผ่าตัด โดยมีลักษณะเป็นท่อเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 7.9 มิลลิเมตร ติดเลนส์บริเวณปลายท่อ อุปกรณ์มีท่อส่งน้ำขนาดเล็ก และที่สำคัญเลนส์ชนิดนี้ยังมีใยแก้วนำแสง เพื่อช่วยขยายการมองเห็นให้กับศัลยแพทย์ขณะทำการผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปจะถูกสอดเข้าไปในท่อขนาดเล็กสำหรับการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเหตุนี้แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็ก ไม่เสียเลือดเยอะ เจ็บน้อย และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติเป็นไหนๆ
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
- แผลผ่าตัดขนาดเล็ก
- ปวดแผลผ่าตัดเล็กน้อย
- ความเสี่ยงติดเชื้อต่ำ
- ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีโดยรอบจุดที่ทำการผ่าตัด
- หลังการผ่าตัดผ่านกล้อง ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชม.
- ลดค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาก ‘การผ่าตัดด้วยวิธีทั่วไป’ มีอะไรบ้าง?
การผ่าตัดผ่านกล้อง สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ แถมยังเสียเลือดน้อยและใช้ระยะเวลาสั้นกว่าอีกด้วย โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ ได้แก่
- การติดเชื้อบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง และแผลผ่าตัดติดเชื้อ ความเสี่ยง 1-2%
- ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (Dural Tear) โอกาส 1-2%
- หลังการผ่าตัดหมอนรองกระดูก มีโอกาสที่หมอนรองกระดูกจะทับเส้นประสาทอีกครั้ง ความเสี่ยง 5-6%
การผ่าตัดผ่านกล้อง Full Endoscopic Spine Surgery สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ แถมยังเสียเลือดน้อยและใช้ระยะเวลาสั้นกว่าอีกด้วย โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติ ได้แก่
- การติดเชื้อบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง และแผลผ่าตัดติดเชื้อ ความเสี่ยง 1-2%
- ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด (Dural Tear) โอกาส 1-2%
- หลังการผ่าตัดหมอนรองกระดูก มีโอกาสที่หมอนรองกระดูกจะทับเส้นประสาทอีกครั้ง ความเสี่ยง 5-6%