Shopping Cart

No products in the cart.

ต้อหิน เกิดจากอะไร ทำให้ตาบอดจริงไหม?

  • ผู้ที่ตรวจพบความดันตาสูงผิดปกติ
  • ผู้ที่อายุมากขึ้น ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปี
  • ผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือยาวมากผิดปกติ
  • ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวสายตรงเป็นต้อหิน
  • ผู้ที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ในระยะเวลานาน
  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บดวงตาที่ส่งผลให้โครงสร้างในตาเสียหาย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคผิดปกติเส้นเลือดและหัวใจ ความดันโลหิต เบาหวาน เป็นต้น

สามารถแยกได้หลายแบบ เช่น ลักษณะโครงสร้างมุมตา อาการร่วม สาเหตุการเกิด ช่วงอายุที่เป็นต้อหิน เป็นต้น เพื่อบอกสาเหตุ แนวทางการรักษา การพยากรณ์ของโรค แต่โดยส่วนใหญ่จะแบ่งหลักตามลักษณะโครงสร้างมุมตา แบ่งเป็น ต้อหินชนิดมุมเปิดและมุมปิด โดยต้อหินมุมปิด จะสามารถตรวจพบมุมตาปิดจากหลายสาเหตุ เช่น มุมตาปิดจากม่านตา พังผืดปิดมุมตา เลนส์ตาเคลื่อนปิดมุมตา เป็นต้น โดยที่มุมตาเปิดจะตรวจไม่พบโครงสร้างผิดปกติที่มาปิดมุมตาชัดเจน ในต้อหินมุมปิดก็สามารถแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันกับชนิดเรื้อรัง โดยใช้อาการร่วมที่ตาแบ่งชนิด นอกจากนี้การแยกตามสาเหตุการเกิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยทุติยภูมิจะเกิดตามหลังจากสาเหตุอื่น จนมีภาวะความดันตาสูงขึ้น เช่น การอักเสบในตา การใช้ยา เช่น สเตียรอยด์ การบาดเจ็บในดวงตา การแยกตามอายุที่เกิดต้อหิน เช่น ต้อหินในผู้ใหญ่ ซึ่งพบบ่อย ต้อหินในเต็กตั้งแต่กำเนิด ซึ่งพบน้อยมาก

  • ในต้อหินชนิดเฉียบพลัน จากความดันตาขึ้นสูงทันทีอย่างรวดเร็ว ตรวจความดันตาสูงมากผิดปกติ โดยจะมีอาการร่วมทางตาจากอาการปวดตามาก ตามัวลง ซึ่งเป็นอาการนำให้ผู้ป่วยมาตรวจกับแพทย์ นอกจากตรวจพบความดันตาที่สูงมาก จะตรวจพบตาแดง กระจกตาบวม ม่านตาขยายจากการทำงานเส้นประสาทตาผิดปกติร่วม ถ้าไม่สามารถลดความดันตาได้ทัน มีโอกาสสูงที่เส้นประสาทตาจะเสียหายมากจนสูญเสียการมองเห็นถาวร ในกลุ่มนี้เองสร้างความเสียหายรุนแรงอย่างรวดเร็ว แต่พบไม่บ่อยเท่ากลุ่มต้อหินที่ไม่มีอาการ
  • ในต้อหินชนิดเรื้องรัง จะไม่มีอาการทางตาในระยะแรก โดยต้อหินที่พบบ่อยคือต้อหินมุมเปิด มักตรวจเจอในระยะแรกจากการมาตรวจสุขภาพตาหรือมาตรวจด้วยภาวะเจ็บป่วยเรื่องตาอย่างอื่น แล้วพบว่ามีโรคต้อหินร่วม การดำเนินของโรคจะค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตาอย่างช้าๆ โดยใช้เวลานานเป็นปี ในกลุ่มนี้ถ้าจะมาตรวจอาการตามัวผิดปกติ อาจไปตัดวัดแว่นแล้วไม่มีระยะชัด เมื่อตัวโรคต้อหินดำเนินมาในระยะท้าย โดยทำลายเส้นประสาทตา ตรวจขั้วประสาทตาจะฝ่อเสียหายมาก ซึ่งเป็นระยะที่ลานสายตาแคบผิดปกติไปมากแล้ว

ต้อหิน เป็นสาเหตุอันดับตันๆ ที่ทำให้ตาบอด เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทตาอย่างหนึ่ง เมื่อความเสื่อมของเส้นประสาทตาไม่ได้รักษาหรือชะลอ จะทำให้เสียหายจนตาบอดสนิทได้ โดยเมื่อตาบอดสนิมแล้วจะไม่สามารถแก้ไข ฟื้นฟูการมองเห็นกลับมาได้อีก

ต้อหิน เป็นโรคเส้นประสาทตาผิดปกติ ทำให้เกิดลักษณะลานสายตาผิดปกติสัมพันธ์กับใยประสาทตาที่เสียหาย โดยการตรวจประเมินร่วมทั้งทางโครงสร้างขั้วประสาทตา ใยประสาทตา และการทำงานของการมองเห็น ลานสายตาประกอบกันในลักษณะเฉพาะของต้อหิน โดยความดันตาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นำมาพิจารณาร่วม ในกรณีที่ความดันตาสูง ช่วยสนับสนุนโรคต้อหิน ในกรณีต้อหินมุมเปิดที่วัดความดันตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีความผิดปกติทางโครงสร้างขั้วประสาทตา ใยประสาทตา ประกอบกับลานสายตาผิดปกติในลักษณะต้อหิน

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดต้อหิน ในกรณีโครงสร้างต้อหินชนิดมุมตาปิด สามารถแก้ไข รักษาตามสาเหตุที่ทำให้มุมตาปิด ลดความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ หยุดภาวะต้อหินไม่ให้ดำเนินเสียหายเพิ่มได้ โดยใช้เลเซอร์หรือการผ่าตัดเพื่อเปิดมุมตา การใช้ยาลดความดันตาในกรณีต้อหินมุมปิดเรื้อรัง จนไปถึงการผ่าตัดต้อหินคุมความดันตาในกรณีใช้ยาไม่ได้หรือไม่สามารถลดความดันตาได้ เป็นต้น ในกรณีต้อหินมุมเปิด สามารถชะลอตัวโรค ความเสื่อมของเส้นประสาทตาโดยการใช้ยาลดความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นๆ แต่ถ้าใช้ยาลดความดันตาแล้วไม่สามารถให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายของผู้ป่วยนั้นๆ จะแนะนำผ่าตัดคุมความดันตาต่อไป

  • ในคนที่มีความเสี่ยงจากประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป สายตาสั้นมาก ยาวมาก เป็นปัจจัยที่เราไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ ควรเข้ามาตรวจเช็กสุขภาพตา คัดกรองต้อหิน เพราะถ้าพบต้อหินจะสามารถแนะนำ รักษา ชะลอความเสียหายได้
  • ในปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เราสามารถการป้องกันได้ เช่น คนที่ใช้ยากลุ่ม steroid ที่ใช้ติดต่อระยะนานเป็นเดือน ที่มีโอกาสทำให้เกิดความดันขึ้นสูงได้ในบางคน ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ยา steroid โดยไม่จำเป็น เช่น ซื้อยาเอง โดยไม่มีการตรวจติดตามของแพทย์ ระมัดระวังป้องกันการบาดเจ็บในดวงตา ใส่แว่นป้องกันการกระแทกในกิจกรรมที่เสี่ยงบาดเจ็บดวงตา นอกจากนี้การควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยไม่ให้เกิดต้อหินจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวที่ทำให้เส้นเลือดในตาผิดปกติ เป็นต้น
  • ในคนที่มีโครงสร้างมุมตาแคบ เราสามารถพิจารณาจัดการให้มุมตากว้างขึ้นได้ เช่น เลเซอร์บริเวณม่านตา ป้องกันการเกิดมุมตาปิดเฉียบพลันจากกลไกม่านตาไปปิดมุมตา หรือทำให้มุมตากว้างขึ้น ในรายมุมตาแคบที่มีต้อกระจกร่วม ผ่าตัดต้อกระจก มุมตาเปิดกว้างขึ้นได้ เป็นต้น
Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ.รจพร พฤกษาชลวิทย์
DR. ROTJAPORN PRUKSACHOLAVIT
Ophthalmologist, Thainakarin Hospital.
ข้อมูลแพทย์