โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายอาจมีอาการเตือน เช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวดศีรษะตุบๆ หากเป็นมานาน หรือความดันโลหิตสูงมากๆ อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามัว ใจสั่น มือเท้าชา ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที
ค่าความดันโลหิตแบบไหน? ที่เรียกว่า ‘สูง’
การจำแนกความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป
Category | SBP (มม.ปรอท) | DBP (มม.ปรอท) | |
Optimal | < 120 | และ | < 80 |
Normal | 120 – 129 | และ/หรือ | 80 – 84 |
High Normal | 130 – 139 | และ/หรือ | 85 – 89 |
Hypertension ระดับ 1 | 140 – 159 | และ/หรือ | 90 – 99 |
Hypertension ระดับ 2 | 160 – 179 | และ/หรือ | 100 – 109 |
Hypertension ระดับ 3 | ≥ 180 | และ/หรือ | ≥ 110 |
Isolated Systolic Hypertension (ISH) | ≥ 140 | และ | < 90 |
วิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง
- ไม่ดื่มชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที
- หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน
- ให้นั่งพักบนเก้าอี้ในห้อง ที่เงียบสงบเป็นเวลา 5 นาที
- หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้าและขณะวัดความดันโลหิต
- วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะ โดยให้บริเวณที่จะพัน Arm Cuff อยู่ระดับเดียวกับระดับหัวใจ และไม่เกร็งแขนหรือกำมือในขณะ ทำการวัดความดันโลหิต
การรักษาความดันโลหิตสูง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ให้ยาลดความดันโลหิต
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความดันโลหิตสูง
- ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
- ปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
- จำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร
- เพิ่มกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- จำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เลิกบุหรี่
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใช้หลัก ‘3อ 2ส 1ฟ’
- 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
- 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่และลดการดื่มสุรา
- 1ฟ คือ สุขภาพช่องปากและฟัน