ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) หรือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป ส่งผลให้อวัยวะทั่วร่างกายถูกกระตุ้นให้มีการเผาผลาญสูงกว่าปกติ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ รอบเดือน ระบบสืบพันธุ์ และสายตาที่อาจลุกลามถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น
อาการแบบไหน เสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ!!
- ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ
- ตาโปน คอโต
- น้ำหนักตัวลดทั้งๆ ที่ทานจุ
- อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
- อ่อนเพลีย
- มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
- ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
- ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
- Myasthenia Gravis
ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาอย่างไร
- การรับประทานยา : ยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ก่อน เป็นระยะเวลาหนึ่ง ถ้าสามารถหยุดยาได้ ไม่กลับเป็นซ้ำ ก็แค่เฝ้าระวังอาการต่อ แต่ถ้าหยุดยาไม่ได้ มีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ต้องเพิ่มยาตลอด หรือมีอาการจุกแน่นคอ หายใจไม่สะดวก อาจจะต้องพิจารณาการรักษาโดยใช้วิธีอื่น
- การรักษาด้วยสารรังสี : การกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสี จะทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง
- การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ : ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือการผ่าตัดออกทั้งหมด จะทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ ซึ่งทั้งสองวิธีจะมาช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ยารักษาไม่ได้ผล
การรักษาโรคไทรอยด์ สามารถรักษาได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค หากเราคอยสังเกตอาการตัวเองว่ามีความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจเช็คค่าฮอร์โมนในเลือดอย่างละเอียดและรับการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละราย สำหรับผู้ป่วยที่พบว่าตนเองเป็นโรคนี้ระยะต้น ๆ อย่าเพิ่งตกใจ ยังพอมีเวลารักษาด้วยยาต้านพิษประมาณสองปี แต่ถ้ารักษาไม่หาย แย่ลง หรือเกิดหยุดยาแล้วเป็นใหม่ แสดงว่ารักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล การกลืนแร่หรือผ่าตัด คือการรักษาขั้นตอนถัดไป โดยการผ่าตัดก็ไม่ได้น่ากลัวเหมือนสมัยก่อน สามารถที่จะผ่าเก็บรักษาเส้นเสียงไม่ให้เสียงแหบได้ โดยแพทย์เฉพาะทางการผ่าต่อมไทรอยด์
ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์
แบบไม่มีแผลเป็น คือผ่าตัดส่องกล้องทางช่องปาก
ให้เป็นทางเลือกเพิ่มอีกด้วย ซึ่งโรคไทรอยด์เป็นพิษ
สามารถผ่าตัดส่องกล้องทางปากได้เช่นกัน