ไตใหม่…ชีวิตใหม่อย่างมีคุณภาพ
ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตวายในประเทศไทย รวมถึงทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนี่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขเรื่อยมา และมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยจากข้อมูลเรื่องโรคไตเรื้อรังที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ไทยฉบับที่ 1 รายงานว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 50,000 คน
นอกจากนี้แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต อาทิเช่น การฟอกเลือดหรือฟอกไตผ่านทางหน้าท้อง แต่นั่นก็ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตและมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไปได้ หนำซ้ำในการฟอกเลือดแต่ละที ผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปยังศูนย์ล้างไตต่าง ๆ ประมาณสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาฟอกไตราว ๆ 4 ชั่วโมง/ครั้ง ทว่าสำหรับผู้ป่วยที่บำบัดด้วยวิธีฟอกไตผ่านทางช่องท้อง จำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและล้างด้วยตนเองประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน โดยการบำบัดไตทั้งสองวิธีนี้ทำให้สูญเสียเวลาในการใช้ชีวิตไปมาก แถมยังมีเรื่องข้อจำกัดในการรับประทานน้ำและอาหารเข้ามาข้องเกี่ยวอีกด้วย
แต่อย่าเพิ่งหมดหวังเพราะในเวลานี้พัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยนอกเหนือจากการฟอกเลือดหรือฟอกไตแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถ ‘ปลูกถ่ายไต’ ได้ ซึ่งการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไตประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นำวิธีการรักษาโรคไตนี้มาใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2515 ก่อนที่ในภายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้วมากกว่า 8,000 ราย
ผศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ได้อธิบายถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมแพทย์ทั่วโลกถึงแนะนำให้ใช้วิธีรักษาด้วยการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ไว้ดังนี้ “สิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนไต พักฟื้นจนแผลหายสนิท นอกเหนือจากคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ผู้ป่วยเปรียบเสมือนได้รับชีวิตใหม่และอายุขัยเพิ่มขึ้นกว่าการฟอกเลือดหรือล้างไตเพียงอย่างเดียว”
เหตุผลข้างต้น มีหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยทั่วโลกและในประเทศไทยก็ยังมีข้อมูลรายงานของกระทรวงสาธารณสุขไปในทิศทางเดียวกันว่า…
อัตราการอยู่รอดภายในระยะเวลา 5 ปี หลังจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหรือไตวายเฉียบพลัน เมื่อได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ จะมีอัตราการอยู่รอดที่ประมาณร้อยละ 75 แต่สำหรับผู้ป่วยที่ใช้วิธีการบำบัดทดแทนไตจะมีอัตราการอยู่รอดราว ๆ ร้อยละ 35 กล่าวคือจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตยืนยาวขึ้นนั่นเอง
การผ่าตัดเปลี่ยนไตสามารถทำได้ด้วยการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เป็นญาติสายตรงหรือกับคู่สามีภรรยา และการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตายซึ่งในทางกฎหมายคือผู้เสียชีวิต โดยผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องด้านล่างด้านใดด้านหนึ่ง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 4-5 ชั่วโมง และจำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลร่วม 2 สัปดาห์ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตพักฟื้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ผ่านการปลูกถ่ายไตยังต้องรับประทานยากดภูมิเพื่อป้องกันการปฏิเสธไตตลอดชีวิต แต่สามารถกลับมาใช้ชีวิตกลับไปทำงานได้ตามปกติ ปัสสาวะได้เหมือนคนทั่วไป และมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยโรคไตที่รักษาด้วยการบำบัดทดแทนพอสมควร
Kidney Transplantation Center โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคซับซ้อน
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในเขตกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก ที่มีศักยภาพด้านการรักษาโรคซับซ้อนและให้ผลลัพธ์การรักษาระดับนานาชาติ ซึ่งนำทีมโดยแพทย์ผู้มีชื่อเสียงจากโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยระดับประเทศ จึงมีความพร้อมทั้งด้านศักยภาพและความเชี่ยวชาญทางการรักษา ตลอดจนจัดตั้ง ‘ศูนย์ปลูกถ่ายไต’ ที่ศึกษาด้านการปลูกถ่ายอวัยวะจากทั่วประเทศ
เราพร้อมให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยโรคไตที่เข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลไทยนครินทร์ว่า มีศักยภาพพอพร้อมดูแลผู้ป่วยไตวายแบบองค์รวม ทั้งการฟอกไตและการปลูกถ่ายไต โดยอยู่ภายในใต้เงื่อนไขของระเบียบสภากาชาดไทยเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะ
ทั้งนี้การปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลไทยนครินทร์ใช้วิธีปลูกถ่ายแบบ ‘Personalize Healthcare’ หรือ ‘การแพทย์แบบเฉพาะบุคคล’ ซึ่งทางทีมแพทย์จะให้คำแนะนำการปลูกถ่ายไตที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมที่สุด ไตที่มาจากผู้บริจาคที่มีชีวิตหรือผู้บริจาคสมองตายให้กับผู้ป่วย เพื่อส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาวในราคาสมเหตุสมผล ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงได้
ทีมแพทย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ สามารถให้ความเชื่อมั่นว่า ผู้ป่วยโรคไตจะได้รับการดูแลแบบ Personalize Healthcare ด้วยผลลัพธ์ระดับนานาชาติ…‘ไตใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ที่มีคุณภาพ’
ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์