Shopping Cart

No products in the cart.

‘ความเครียด’ แค่เครียด…ก็เสี่ยงโรค

‘ความเครียด’ สามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลา อาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่น ความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย

ความเครียด เป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดี เช่น ความตื่นเต้น ความท้าทาย และความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งมีทั้งผลดี และผลเสีย

ชนิดของความเครียด

1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิม ฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด

  • เสียง
  • อากาศเย็นหรือร้อน
  • ชุมชนที่คนมากๆ
  • ความกลัว
  • ตกใจ
  • หิวข้าว
  • อันตราย

2. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง

  • ความเครียดที่ทำงาน
  • ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ความเครียดของแม่บ้าน
  • ความเหงา

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการที่ปรากฏก็เป็นเพียงทางกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่ เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์

โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด

  • โรคทางเดินอาหาร
  • โรคปวดศีรษะไมเกรน
  • โรคปวดหลัง
  • High blood pressure
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • Heart disease
  • ตับอักเสบจากการติดสุรา
  • ถุงลมโป่งพองจากการติดบุหรี่
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคหอบหืด
  • ภูมิคุ้มกันต่ำลง
  • เป็นหวัดง่าย
  • มะเร็ง

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ. น้ำค้าง แก้วก่า
DR. NUMKARNG KAEWKA, M.D
Psychiatrists, Thainakarin Hospital
ข้อมูลแพทย์