โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) มักพบในผู้สูงอายุ โดยอาการจะมีตั้งแต่ผู้สูงอายุปวดหลังเบา ๆ จนถึงขั้นปวดหนักและเดินลำบาก ทว่าอาการจะปรากฏชัดขึ้นค่อนข้างช้านานเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งพอรู้ตัวอีกทีก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังไปเสียแล้ว!!
สาเหตุของการเกิดโรค มีอะไรบ้าง
เกิดจากการที่กระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ตั้งแต่หมอนรองกระดูก เส้นเอ็น ตลอดจนข้อต่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยอวัยวะเหล่านี้เมื่อเสื่อมสภาพลงจะมีการหนาตัวขึ้นด้านในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้เส้นประสาทกดทับหรือถูกเบียด จนเกิดเป็นอาการปวดและชาขึ้นตามทางที่เส้นประสาทเหล่านั้นวิ่งไป ซึ่งหากปล่อยไว้อาการอาจถึงขั้นร้าย เช่น สูญเสียการสั่งการกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ฯลฯ ทั้งนี้มักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ลักษณะอาการปวดแบบไหนคือสัญญานเตือน
- เมื่อผู้สูงอายุเดินเป็นเวลานานจะปวดบริเวณเอว สะโพก น่อง และขา
- ‘อาการปวดหลังในผู้สูงอายุ’ จะเกิดขึ้นเมื่อแอ่นตัวไปด้านหลัง และจะบรรเทาลงเมื่อได้พักหรือแอ่นตัวไปด้านหน้า
- ปวดมากจนไม่สามารถกั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้
บุคคลที่มีความเสี่ยง มีดังนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- คนที่ต้องเดินเป็นเวลานานหรือยกของเยอะ
- ผู้ประสบอุบัติเหตุจนเส้นประสาทกดทับที่กระดูกสันหลัง
- คนที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
วิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
- ทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจต้องทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการทานยาจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลังบริเวณที่กระดูกสันหลังเสื่อม
- การผ่าตัดโรคโพรงกระดูกตีบแคบผ่านกล้อง (Full Endoscopic) ซึ่งวิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากความเสี่ยงน้อยและผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวเพียงนอนพักที่โรงพยาบาล 1-2 วันเท่านั้น โดยการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคปจะเริ่มจากการเปิดแผลขนาดเล็ก แล้วสอดกล้องเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดโรค ก่อนที่จะเริ่มทำการผ่าตัดต่อไป
- การผ่าตัดโรคโพรงกระดูกตีบแคบด้วยกล้องจุลทรรศน์