Shopping Cart

No products in the cart.

การผ่าตัดสิทธิข้าราชการ

Thainakarin Hospital เป็นสถานพยาบาลเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการขยายสิทธิประโยชน์ ด้านการพยาบาลแก่ข้าราชการ และครอบครัว ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 (ในระบบผู้ป่วยใน-โดยมิใช่กรณีฉุกเฉิน) ซึ่งโรคที่กำหนดให้เบิกได้ คือโรคที่ต้องมีการนัดผ่าตัดล่วงหน้า (Elective Surgery) รวมถึงการคลอดบุตร โดยทางโรงพยาบาลจะคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายโรค (DRG) กลับกรมบัญชีกลางด้วยวิธีเบิกจ่ายตรง ซึ่งจะมีส่วนเกินที่ทางกรมบัญชีกลางไม่ครอบคลุม และให้ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บกับผู้ป่วย ได้แก่

  1. ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด
  2. ค่าธรรมเนียมวิสัญญีแพทย์
  3. ค่าธรรมเนียมแพทย์เยี่ยมไข้
  4. ค่าธรรมเนียมพิเศษ
  5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการรักษา เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าชุดของใช้เด็ก ค่าทำรอยเท้าเด็ก เป็นต้น
  6. ส่วนเกินค่าห้อง ค่าอาหาร ที่เกินจาก 1,000 บาท ต่อวัน
  7. ส่วนเกินค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บำบัดรักษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล

  • ข้าราชการ
  • ลูกจ้างประจำ
  • ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ ที่มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
  • บุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าวข้างต้น (บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร 3 คน) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรภาครัฐอื่นๆ

หลักเกณฑ์การเข้ารับบริการ

  1. ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นจากแพทย์ และมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ต้องทำการผ่าตัดรักษาโรคนั้น ๆ
  2. มีใบส่งตัวจากแพทย์ที่รักษามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  3. กรณีมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องรักษาควบคุมอาการให้คงที่ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  4. โครงการนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย เฉพาะในวันที่มานอนโรงพยาบาล เพื่อทำการผ่าตัดรักษาเท่านั้น
  5. การตรวจรักษาก่อนและหลังวันผ่าตัดไม่รวมอยู่ในโครงการนี้
  6. การเข้าใช้สิทธิ์ ผู้ป่วยต้องนำสำเนาบัตรประชาชนที่ชัดเจนมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์กับฐานข้อมูลเบิกจ่ายตรงของกรมบัญชีกลางในระบบออนไลน์ ถ้าพบชื่อแสดงว่ามีสิทธิ์
  7. สำหรับข้าราชการที่ไม่เคยใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลภาครัฐมาก่อน จะต้องเข้าไปติดต่อขอลงทะเบียนกับโรงพยาบาลภาครัฐก่อน จึงมีสิทธิ์ขึ้นในระบบจ่ายตรงในโครงการนี้
  8. เอกสารที่ต้องนำมาแสดง บัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนเข้าสู้ระบบจ่ายตรงสำหรับผู้ป่วยนอก

  1. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
  2. บัตรประจำตัวผู้ป่วย (กรณียังไม่เคยมีบัตรโรงพยาบาลติดต่อขอลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ได้ที่ แผนกเวชระเบียน ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น.)
  3. สำหรับครอบครัวของผู้มีสิทธิ์ที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร/ทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)

ตรวจสอบสิทธิ์รักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลาง https://mbdb.cgd.go.th/wel/
คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

รายการโรค/หัตถการ ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง

กลุ่ม A ศัลยกรรมทั่วไป

  • A030 การผ่าตัดริดสีดวงทวาร
  • A042 การผ่าตัดโพรงฝีคัณฑสูตร
  • A043 การตัดหูรูดทวารหนัก

กลุ่ม B โรคระบบกระดูกและข้อ

  • B023 การผ่าตัดแก้ไขข้อสะโพกเทียม
  • B030 การผ่าตัดครึ่งข้อเท้า
  • B041 การผ่าตัดย้ายเส้นเอ็นที่แขน
  • B042 การผ่าตัดย้ายเส้นเอ็นที่ขา
  • B051 การตัดขา
  • B060 การผ่าตัดแก้ไขโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ
  • B070 การผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า

กลุ่ม C ศัลยกรรมเด็ก

  • C010 การผ่าตัดไส้เลื่อนในเด็ก
  • C020 การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือ
  • C070 การผ่าตัดท่อน้ำดีโป่งพอง
  • C081 การผ่าตัดหูรูดกระเพาะ

กลุ่ม D สูติ-นรีเวชกรรม

  • D010 การคลอดและการช่วยคลอด
  • D011 การคลอดและการช่วยคลอด + การทำหมัน
  • D051 การตัดเนื้องอกมดลูกแบบเปิด
  • D052 การตัดเนื้องอกมดลูกผ่านกล้อง
  • D061 การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่แบบเปิด
  • D062 การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ผ่านกล้อง
  • D980 การดูแลเด็กแรกเกิด (เด็กปกติ)

กลุ่ม E โรคระบบทางเดินปัสสาวะ

  • E011 การผ่าตัดนิ่วออกทางเนื้อไต
  • E012 การผ่าตัดขบนิ่วโดยเจาะผ่านผิวหนังและเนื้อไต
  • E030 การผ่าตัดรูรั่วระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ

กลุ่ม โสต ศอ นาสิก

  • F011 การผ่าตัดเพดานโหว่
  • F012 การผ่าตัดปากแหว่ง

กลุ่ม G โรคตา

  • G020 การผ่าตัดต้อหิน
  • G030 การผ่าตัดซ่อมจอประสาทตาลอก
  • G040 การผ่าตัดท่อน้ำตา
  • G050 การผ่าตัดใส่เลนส์เทียมภายหลังจากการผ่าตัดเอาเลนส์ออก
Share