ภูมิแพ้ (Allergy) โรคยอดฮิตที่ใครๆ ก็เป็นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะไวผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการไอ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก มีผื่นคันแดง คันตา ฯลฯ แต่สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยการตรวจหาสาเหตุของภูมิแพ้ให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การป้องกันตนเองอย่างตรงจุด
สารก่อภูมิแพ้ สามารถตรวจได้ 2 วิธี
การตรวจสามารถทำได้ทั้งในตัวคนไข้เอง และตรวจภายนอกตัวคนไข้
- การตรวจที่แสดงผลที่ตัวคนไข้เอง ได้แก่ ทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test : SPT) และตรวจภูมิแพ้โดยวิธีฉีด (Intradermal Test) ปฏิกิริยาทางผิวหนังเป็นบวก (Positive Skin Reaction) เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีสารภูมิต้านทาน (Specific Immunoglobulin E, SlgE) ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่นำมาทดสอบ
- การเจาะเลือดตรวจวัดระดับสารภูมิต้านทาน ชนิด IgE จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ในกระแสเลือด จะดู Total IgE และ Antigen Specific IgE
ตรวจสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง & เจาะเลือด ต่างกันอย่างไร
การตรวจ SPT มีความจำเพาะเจาะจงต่อสารก่อภูแพ้มากกว่าการเจาะเลือดตรวจ โดยการเจาะเลือดจะใช้ในกรณี ดังต่อไปนี้
- มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้รุนแรง โดยเฉพาะ Severe Systemic Reaction (Severe SR) เช่น Uncontrolled Bronchial Asthma หรือมีประวัติที่เกี่ยวกับ Anaphylaxis
- โรคผิวหนังรุนแรง Extensive Skin Disease or Demographism
- หยุดยาที่มีผลต่อการทำ SPT ไม่ได้
ประโยชน์ของการตรวจหาสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
- ยืนยันการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
- ให้การรักษา (Directing Therapy)
– Targeted Allergen Avoidance หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
– Allergen specific Immunotherapy การให้วัคซีน หรือการบำบัดทางอิมมูน หรืออิมมูนบำบัดในโรคภูมิแพ้
ฉีดวัดซีนภูมิแพ้ หรืออิมมูนบำบัดโรคภูมิแพ้ ดีอย่างไร
การให้วัคซีนหรือการบำบัดทางอิมมูน หรืออิมมูนบำบัดในโรคภูมิแพ้ เป็นการให้สารที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อย เพื่อทำให้อาการภูมิแพ้นั้นลดลงหรือหายไป และลดปริมาณยาที่ต้องใช้ เนื่องจากภาวะภูมิไวเกินของผู้ป่วยลดลง ถือเป็นการรักษาเพียงชนิดเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินของโรคภูมิแพ้ตามธรรมชาติได้ (Natural Course of Allergic Disease) ปัจจุบันมีการพัฒนาตัววัคซีนภูมิแพ้ให้ปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้น แต่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี
วิธีการให้วัคซีนโรคภูมิแพ้
- ฉีดใต้ผิวหนัง (SCIT)
- อมใต้ลิ้น (SLIT)
ข้อบ่งชี้ในการให้วัคซีนโรคภูมิแพ้
- อาการรบกวนคุณภาพชีวิตต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี
- ไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้เพียงพอ
- ทนฤทธิ์ข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือต้องการลดปริมาณยา
ใครบ้างไม่ควรเริ่มฉีดวัคซีนภูมิแพ้
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ใช้ยา Beta Blocker
- หอบหืดรุนแรง
- ตั้งครรภ์
- เด็ก อายุน้อยกว่า 5 ขวบ
- ผู้ป่วยสูงวัย
การเตรียมตัวก่อนการตรวจสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อการทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง (SPT)
Drugs Interfering with Allergy Skin Tests
|
|
Drug Group
|
Discontinue before Testing for
|
Antihistaminics (1st Generation) |
2 - 3 days |
Antihistaminics (2nd Generation) |
3 - 10 days |
Medications with Antihistaminic Proprties - Phenothiazines (eg,Chlopromazine) - Tricyclic Antidepressants |
3 - 10 days |
Mast Cell Stabilizers |
5 days |
Omalizumab |
6 months |
Leukotriene Modifiers |
No significant effect |
Systemic Steroids |
Only prolonged high dose courses warrant consideration |
Topical Steroids |
7 days or more (or use another site) |
วิธีดูแลตัวเอง
แนะนำให้จัดการสิ่งแวดล้อม
ให้ปลอดสารก่อความระคายเคือง
หลีกเลี่ยงมลภาวะที่กระตุ้นให้ภูมิแพ้กำเริบขึ้นได้
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะสามารถลด
และบรรเทาอาการของภูมิแพ้ได้