Shopping Cart

No products in the cart.

tinnakon.b

tinnakon.b

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ชีวิตใหม่ของผู้สูงวัย…พร้อมก้าวต่อ!

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ชีวิตใหม่ของผู้สูงวัย

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ปวดเข่าเรื้อรัง รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วอาการปวดไม่ดีขึ้น โดยเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แพทย์จะผ่าตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมหรือผุกร่อนออก แล้วทดแทนด้วยวัสดุทางการแพทย์ ซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยเสมือนได้ข้อเข่าแบบใหม่ สามารถกลับมาก้าวเดินอย่างมั่นใจอีกครั้ง ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คืออะไร  ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) เป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดที่ผิวข้อส่วนที่เสื่อมออก แล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ ซึ่งโลหะที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ไทเทเนียม โคบาล โครเมียม เซรามิก และพลาสติกทางการแพทย์ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีกี่แบบ?  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มี 2 แบบ ได้แก่ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีข้อจำกัดหรือไม่? ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม…

เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กจำเป็นแค่ไหน?

เคลือบฟลูออไรด์

เคลือบฟลูออไรด์ คือหนึ่งในวิธีป้องกันฟันผุและดูแลฟันเด็กให้แข็งแรง โดยการใช้สารฟลูออไรด์ที่ผลิตขึ้นเพื่องานทันตกรรม เคลือบลงไปบนซี่ฟันของเด็กให้ฟันแข็งแรง ทนทานต่อกรดของแบคทีเรียในช่องปาก ทำให้ฟันผุยากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุมากเป็นพิเศษ เช่น เด็กที่ยังเลิกขวดนมตามวัยไม่ได้ เด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการแปรงฟัน รับประทานขนมขบเคี้ยวบ่อยๆ และมีคราบจุลินทรีย์มาก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ทันตแพทย์จะแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำทุก 3-4 เดือน ฟลูออไรด์ คืออะไร เคลือบฟลูออไรด์ มีประโยชน์อย่างไร เนื่องจากเคลือบฟันส่วนชั้นนอกสุดของฟันจะมีการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) และจะมีการคืนแร่ธาตุ (Remineralization) เข้าไปใหม่ ในทุกๆ วัน โดยขบวนการทั้งสองนี้จะสร้างความสมดุลในตัวมันเอง แต่ถ้าหากเราสูญเสียเคลือบฟันในปริมาณที่มากจนขาดสมดุล ฟันของเด็กก็จะผุเป็นรูได้ เคลือบฟลูออไรด์ จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน ด้วยการเร่งการคืนแร่ธาตุอย่างฟลูออไรด์ แคลเซียม และฟอสเฟต ให้กับเคลือบฟัน นอกจากนี้การเคลือบฟลูออไรด์ยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียไม่ให้สร้างกรดขึ้นมาทำลายฟัน ทำให้ฟันน้ำนมของเด็กและฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นมีความแข็งแรง ผุได้ยากขึ้น เคลือบฟลูออไรด์ สำหรับเด็ก…

ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP รักษา ‘ข้อเข่าเสื่อม’

ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP รักษาข้อเข่าเสื่อม

ปวดข้อ ข้อเข่าเสื่อม เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง รักษาได้! ด้วยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP โดยการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่น สกัดเป็นพลาสมาเข้มข้นที่มีโปรตีนและสารกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ นำไปฉีดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อลดอาการปวดและเร่งการฟื้นฟูร่างกาย แล้ว PRP รักษาข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร? ลดอาการปวดได้จริงไหม? นพ.ไชยพัทธ์ ไชยกรณ์วงษ์ แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีความชัดเจนของเรื่องนี้มาอธิบายให้ฟังค่ะ

6 โรคที่มากับหน้าร้อน ที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคที่มากับหน้าร้อน

จากอุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหน้าร้อน ส่งผลให้เชื้อโรคบางชนิดสามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย และโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งล้วนเป็นโรคยอดฮิตหน้าร้อนที่ต้องระมัดระวัง และควรดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะบางโรคหากติดเชื้อรุนแรง อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โรคที่มากับหน้าร้อน – อุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปโตซัว พยาธิ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระติดต่อกัน โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในอาหารปรุงไม่สุก ซึ่งมีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ ไข่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซึ่งคนได้รับเชื้อเข้าไป มักมีไข้ ปวดท้อง ซึ่งเชื้อที่ได้รับสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้ได้ จึงทำให้มีอาการปวดท้องอุจจาระร่วง หรือการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ…

ข้อเข่าเสื่อมรักษา ด้วยการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP

ข้อเข่าเสื่อมรักษา

การฉีดพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP หรือ Platelet Rich Plasma เป็นการรักษาที่ใช้เลือดของผู้ป่วยเอง โดยแพทย์จะทำการแยกเกล็ดเลือดที่มีโปรตีนและสารกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ นำไปฉีดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก ข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ ความเสื่อมของเส้นเอ็น เป็นต้น รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม เกิดขึ้นได้จากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป ทำให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าเสียดสีกันจนเกิดการเสื่อมและสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ จนมีอาการปวดเข่า มักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่มีการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป และอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่า ข้อเข่าเสื่อมรักษา ด้วยวิธีไหนได้บ้าง  ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP คืออะไร ฉีดเกล็ดเลือด PRP เป็นการรักษาด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูง โดยนำเลือดของคนไข้เองมาปั่นเพื่อแยกเกล็ดเลือดและพลาสมา หลังจากนั้นแพทย์จะนำเกล็ดเลือดที่ได้จากการปั่นที่มีความเข้มข้นสูง ฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดและเร่งการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มใด  ข้อดีของการฉีดเกล็ดเลือด รักษาข้อเข่าเสื่อม มีส่วนช่วยในการบำบัดข้อเข่าเสื่อม…

ต้อหิน โรคอันตราย ทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร

ต้อหิน โรคอันตราย ทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร

‘ต้อหิน’ โรคร้ายที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร จริงหรือไม่? วันนี้ พญ.รจพร พฤกษาชลวิทย์ จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีความชัดเจนของเรื่องนี้มาอธิบายให้ฟังค่ะ

การดูแลสุขภาพ หลังปลูกถ่ายไต

ดูแลสุขภาพ หลังปลูกถ่ายไต

หลังผ่าตัด ‘ปลูกถ่ายไต’ ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตัวเองอย่างไร เพื่อให้ ‘ไตใหม่’ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้ รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีคำแนะนำเรื่องนี้มาฝากค่ะ

สถานการณ์โรคมะเร็ง ในภาคตะวันออก

สถานการณ์โรคมะเร็งในภาคตะวันออก

สถานการณ์โรคมะเร็งภาคตะวันออกในปัจจุบัน พบผู้ป่วยมะเร็งกว่า 2 แสนรายต่อปี โดยเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ กว่า 1 หมื่นราย ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี จากสถิติมะเร็งที่พบบ่อยในภาคตะวันออก แบ่งชาย-หญิง โดยมะเร็งที่พบบ่อย 3 อันดับแรกในผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งตับท่อทางเดินน้ำดี มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งปอด ส่วนมะเร็งที่พบบ่อย 3 อันดับแรกในผู้หญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ และมะเร็งปากมดลูก เนื่องในวันมะเร็งโลกปีนี้ นพ.ชัยชนะ จันทรคิด หัวหน้าหน่วยมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพุทธโสธร ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายมะเร็งภาคตะวันออก หรือ ‘Eastern Cancer Network’ จะมาเล่าถึงสถานการณ์โรคมะเร็งในภาคตะวันออก พร้อมให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิด เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ขยายขอบเขตการวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI

ขยายขอบเขตการวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI

มาตรฐานการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน คือ การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) แต่ข้อจำกัดบางอย่าง การตรวจด้วยแมมโมแกรมอาจได้ผลไม่ชัดเจน หรือการคัดกรองในบุคคลที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมสูง การตรวจด้วยเครื่องวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้พบรอยโรคได้เร็ว การทำ MRI BREAST ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในด้าน MRI Machine, Technique และที่สำคัญ Radiologist’s Experience ซึ่งทางโรงพยาบาลไทยนครินทร์ มี พญ.เพ็ญอำไพ ตันนาภัย รังสีแพทย์เชี่ยวชาญด้าน MRI BREAST โดยเฉพาะ แล้วใครบ้าง ควรรับการตรวจความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI หรืออยากรู้ว่าขั้นตอนในการทำ MRI BREAST คืออะไร วันนี้ พญ.พุทธิพร เนาวะเศษ ศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา…

กลัวมะเร็งปากมดลูก? จะรู้ได้ยังไงว่าเรากำลังเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก?

มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer)

ผู้หญิงทุกคน กลัวเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ก็อายที่จะตรวจ ทำให้ผู้่หญิงส่วนมากพบมะเร็งปากมดลูกเมื่อเข้าระยะ 1 เกือบ 2 วันนี้ พญ.มาริสา ทศมาศวรกุล สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลไทยนครินทร์ หรือ ‘หมอมี่’ ที่สาวๆ คุ้นเคยกันดี จะมาเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้ว อาการมะเร็งปากมดลูกมีอะไรบ้าง? Check มะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้ไหม ดูจบแล้วมีคำถาม สอบถามได้นะคะ แอดมินจะหาคำตอบให้ทุกคนแน่นอน