Shopping Cart

No products in the cart.

tinnakon.b

tinnakon.b

ขยายขอบเขตการวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI

ขยายขอบเขตการวินิจฉัยความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI

มาตรฐานการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน คือ การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) แต่ข้อจำกัดบางอย่าง การตรวจด้วยแมมโมแกรมอาจได้ผลไม่ชัดเจน หรือการคัดกรองในบุคคลที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมสูง การตรวจด้วยเครื่องวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้พบรอยโรคได้เร็ว การทำ MRI BREAST ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในด้าน MRI Machine, Technique และที่สำคัญ Radiologist’s Experience ซึ่งทางโรงพยาบาลไทยนครินทร์ มี พญ.เพ็ญอำไพ ตันนาภัย รังสีแพทย์เชี่ยวชาญด้าน MRI BREAST โดยเฉพาะ แล้วใครบ้าง ควรรับการตรวจความผิดปกติของเต้านมด้วย MRI หรืออยากรู้ว่าขั้นตอนในการทำ MRI BREAST คืออะไร วันนี้ พญ.พุทธิพร เนาวะเศษ ศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา…

กลัวมะเร็งปากมดลูก? จะรู้ได้ยังไงว่าเรากำลังเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก?

มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer)

ผู้หญิงทุกคน กลัวเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ก็อายที่จะตรวจ ทำให้ผู้่หญิงส่วนมากพบมะเร็งปากมดลูกเมื่อเข้าระยะ 1 เกือบ 2 วันนี้ พญ.มาริสา ทศมาศวรกุล สูตินรีแพทย์เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลไทยนครินทร์ หรือ ‘หมอมี่’ ที่สาวๆ คุ้นเคยกันดี จะมาเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้ว อาการมะเร็งปากมดลูกมีอะไรบ้าง? Check มะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองง่าย ๆ ได้ไหม ดูจบแล้วมีคำถาม สอบถามได้นะคะ แอดมินจะหาคำตอบให้ทุกคนแน่นอน

ต้อหิน เกิดจากอะไร ทำให้ตาบอดจริงไหม?

ต้อหิน เกิดจากอะไร ทำให้ตาบอดจริงไหม?

ต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทตาผิดปกติชนิดหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สัมพันธ์กับความดันตาสูง จากการระบายออกน้ำเลี้ยงในลูกตาน้อยผิดปกติ ไม่สมดุลกับการสร้าง ความดันตาที่สูงกว่าปกติ จนกระทั่งกดขั้วประสาทตาทำลายใยประสาทตาเสียหาย เมื่อตรวจลานสายตาจะพบผิดปกติ และเมื่อการเสียหายนี้ยังดำเนินต่อไป ถ้าไม่รักษา จะสามารถทำให้เกิดตาบอดสนิท โดยไม่สามารถรักษาการมองเห็นกลับมาได้อีก ใครบ้างมีความเสี่ยงโรคต้อหิน ต้อหิน มีกี่ประเภท อย่างไรบ้าง สามารถแยกได้หลายแบบ เช่น ลักษณะโครงสร้างมุมตา อาการร่วม สาเหตุการเกิด ช่วงอายุที่เป็นต้อหิน เป็นต้น เพื่อบอกสาเหตุ แนวทางการรักษา การพยากรณ์ของโรค แต่โดยส่วนใหญ่จะแบ่งหลักตามลักษณะโครงสร้างมุมตา แบ่งเป็น ต้อหินชนิดมุมเปิดและมุมปิด โดยต้อหินมุมปิด จะสามารถตรวจพบมุมตาปิดจากหลายสาเหตุ เช่น มุมตาปิดจากม่านตา พังผืดปิดมุมตา เลนส์ตาเคลื่อนปิดมุมตา เป็นต้น โดยที่มุมตาเปิดจะตรวจไม่พบโครงสร้างผิดปกติที่มาปิดมุมตาชัดเจน ในต้อหินมุมปิดก็สามารถแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันกับชนิดเรื้อรัง โดยใช้อาการร่วมที่ตาแบ่งชนิด…

เช็กสัญญาณเตือน ‘โรคไตวายเรื้อรัง’

เช็กสัญญาณเตือน โรคไตวายเรื้อรัง

สถานการณ์ของโรคไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease) ในปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก เพราะจากข้อมูลการศึกษาและวิจัยของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า คนไทยมีอาการของโรคไตเรื้อรัง คิดเป็นประมาณร้อยละ 17.6 ของผู้ป่วย 8 ล้านคน และยังพบด้วยว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายอีกราวๆ 80,000 คน ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีในสัปดาห์ที่สองของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็น ‘วันไตโลก’ (World Kidney day) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กำหนดประเด็นรณรงค์ ประจำปี 2567 คือ ‘Kidney Health for All – Advancing Equitable Access…

มะเร็งที่พบบ่อย ป้องกันได้!

มะเร็งที่พบบ่อย ป้องกันได้

‘โรคมะเร็ง’ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี โดย 5 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลําไส้ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากปัจจัยภายนอก คือ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ทำร้ายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด และรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ นพ.สุนที สงวนไทร อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ศูนย์มะเร็งโฮลิสติค โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จะมาให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิด เพราะยิ่งรู้เร็ว ตั้งแต่ระยะแรก เพิ่มโอกาสรักษาหาย

เครือข่าย ECN ร่วมรณรงค์ในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day 2024)

เครือข่าย ECN ร่วมรณรงค์ในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day 2024)

เครือข่าย ECN ร่วมรณรงค์ในวันมะเร็งโลก ธีม ‘Close The Care Gap’ ผนึกกำลังปิดช่องว่างและเติมเต็ม เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษามะเร็งในทุกสิทธิ์ กลุ่ม ‘Eastern Cancer Network’ หรือ ECN เครือข่ายการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดย 4 สถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, โรงพยาบาลแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา (CAH) และสหคลินิกฉะเชิงเทรา(SCC) จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day 2024) สอดรับธีม ‘Close The Care Gap’ สร้างความตระหนักรู้ ใส่ใจความเสี่ยง เพื่อปิดช่องว่างและเติมเต็ม…

I AM AND I DO ‘รู้ทันมะเร็ง ตรวจเจอก่อน รักษาได้’

รู้ทันมะเร็ง ตรวจเจอก่อน รักษาได้

We Beat Cancer ‘ป้องกัน-ค้นหา-รักษา-ฟื้นฟู-ติดตาม’ มะเร็ง…เอาชนะได้ ‘Listen To Your Health By Thainakarin’ รายการ Podcast สาระดีที่จะช่วยให้คุณเข้าใจระบบร่างกายและดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น โดย นพ.อาคม เชียรศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ตรวจการได้ยินในเด็ก สำคัญอย่างไร

ตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก

การตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพราะหากเด็กมีปัญหาการได้ยิน จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ทั้งในด้านการพูด การเรียนรู้ และการใช้ชีวิตในอนาคตได้ แล้วพ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกน้อยมีปัญหาทางการได้ยินหรือไม่? พญ.นาฏยพร จรัญเรืองธีรกุล แพทย์ที่ปรึกษา หู คอ จมูก โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีวิธีสังเกตลูกน้อยและเทคโนโลยีสำหรับตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กมาแนะนำค่ะ

เดินนานไม่ได้ ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

ฟังสัมภาษณ์สด รายการไทยแลนด์สตอรี่

สัมภาษณ์สดรายการไทยแลนด์สตอรี่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 MHz เดินนานไม่ได้ ปวดหลังร้าวลงขา แค่ปวดเมื่อยธรรมดา หรือจริงๆ แล้ว นั่นคือ สัญญาณ ‘โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ’ รับฟังสัมภาษณ์สด หัวข้อ ‘โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ’ โดย นพ.วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ในรายการไทยแลนด์สตอรี่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 MHz

โรคงูสวัด (Herpes Zoster) เกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน?

‘งูสวัด’ เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อ Herpes Varicella Zoster ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดไข้อีสุกอีใส ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในปมประสาทสันหลังเมื่อถูกกระตุ้นจะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคงูสวัดได้ บริเวณที่พบบ่อย คือ บริเวณเอว คอ ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ หรือจากโรค เช่น โรคเอดส์ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การรักประทานยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็ง จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ผู้สูงอายุมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก อาการเตือน โรคงูสวัด ภาวะแทรกซ้อน การรักษาโรคงูสวัด วิธีป้องกัน ‘โรคงูสวัด’ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน…