Shopping Cart

No products in the cart.

ผ่าตัดเส้นฟอกไต…รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกไต...รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกไต คือการผ่าตัดเพื่อทำให้เกิดตำแหน่งหลอดเลือดของร่างกายที่สามารถนำเลือดออกจากร่างกายไปฟอกเลือดขจัดของเสียที่เครื่องไตเทียม และนำเลือดที่ปราศจากของเสียกลับสู่ร่างกายผู้ป่วย 

  1. เส้นฟอกไตอยู่ใต้ผิวหนัง (Internal Access) คือการเชื่อมหลอดเลือดแดงเข้ากับหลอดเลือดดำ โดยเวลาฟอกไตจำเป็นต้องเจาะหลอดเลือดตามร่างกายผู้ป่วย เพื่อนำเลือดออกจากร่างกายไปเข้าเครื่องฟอกไต
  2. เส้นฟอกไตออกนอกผิวหนัง (External Access) คือการใส่สายฟอกไตเข้าไปคาไว้หลอดเลือดของผู้ป่วยบริเวณลำตัว จากนั้นเวลาฟอกไตจะต่อสายดังกล่าวเข้ากับเครื่องฟอกไต ซึ่งการทำเส้นล้างไตแบบนี้มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าแบบ Internal Access เพราะมีสายฟอกไตอยู่ภายร่างกาย
ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกไต...รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

การผ่าตัดทำเส้นฟอกไต โดยเส้นฟอกไตอยู่ใต้ผิวหนังนั้น จะแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • AVF (Arteriovenous Fistula) เป็นการผ่าตัดต่อหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเข้ากับหลอดเลือดแดงของผู้ป่วยโดยตรง หรือเรียกว่า ‘ทำเส้นจริง’ โดยเวลาล้างไตจะทำการเจาะดูดเลือดบริเวณหลอดเลือดดำของผู้ป่วย
  • AVG (Arteriovenous Graft) เป็นการใช้หลอดเลือดเทียมเป็นตัวกลางต่อหลอดเลือดดำเข้ากับหลอดเลือดแดงของผู้ป่วย หรือเรียกว่า ‘ทำเส้นเทียม’ โดยเวลาล้างไตจะทำการเจาะดูดเลือดบริเวณหลอดเทียมของผู้ป่วย

การผ่าตัดทำเส้นฟอกไต โดยเส้นฟอกไตออกนอกผิวหนังนั้น จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  • แบบชั่วคราว (Double Lumen Catheter) สายจะอยู่ตรงคอ ซึ่งเป็นสายล้างไตชั่วคราวไม่ควรใช้เกิน 3 สัปดาห์
  • แบบกึ่งถาวร (Permanent Catheter) สายจะอยู่ตรงอก สามารถใช้ได้เกิน 3 สัปดาห์
ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกไต...รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
  • ในกรณีทำเส้นจริง AVF จะเป็นการผ่าเปิดบริเวณแขนของผู้ป่วยเพื่อหาหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำของผู้ป่วยจากนั้นเย็บหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำของผู้ป่วย เข้าด้วยกัน
  • ในกรณีทำเส้นเทียม AVG จะเป็นการผ่าเปิดบริเวณแขนของผู้ป่วยเพื่อหาหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำของผู้ป่วยจากนั้นใส่หลอดเลือดเทียม เข้าใต้ผิวหนังของผู้ป่วย และเย็บปลายทั้ง 2 ข้างเข้ากับ หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำของผู้ป่วย
  • งดยาละลายลิ่มเลือดก่อนผ่าตัด
  • งดเจาะเลือด หรือวัดความดันโลหิตแขนข้างที่จะทำการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเสียหายของหลอดเลือดที่จะใช้ทำการผ่าตัด
ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกไต...รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
  • ห้ามแผลผ่าตัดโดนน้ำ
  • แผลที่ทำการผ่าตัดเป็นแผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องล้างแผลจนถึงวันนัด หากไม่มีเลือดซึม
  • หากมีอาการบวมแดงบริเวณแผลผ่าตัด ให้มาพบแพทย์ที่ รพ.
  • งดเจาะเลือด วัดความดันโลหิตที่แขนข้างที่ผ่าตัด
  • งดใส่แหวน หรือนาฬิกาแขนข้างที่ผ่าตัด
Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. จักรชัย บุณยวณิชย์
นพ. จักรชัย บุณยวณิชย์
ศัลยแพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์สาขาหลอดเลือด
ข้อมูลแพทย์