LCP Large Image

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์
Thainakarin Kidney Transplantation Center

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 โดยทีมแพทย์ปลูกถ่ายไตหลากหลายแขนงที่มีประสบการณ์สูงจากสถาบันต่างๆ ของประเทศไทย จึงมีความพร้อมที่ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีความซับซ้อนเพื่อทำการปลูกถ่ายไตทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และโรคที่เกี่ยวเนื่องภายหลังการปลูกถ่ายไต เช่น ภาวะปฏิเสธอวัยวะ (Rejection) โรคหลอดเลือดแดงไตตีบ (Transplant Renal Artery Stenosis) การติดเชื้อภายหลังการปลูกถ่ายไต (Infection) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด เป็นต้น

 

Call button 02 340 7777

Add line button

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพหลัก ได้แก่

  1. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant Surgeon) เป็นหัวหน้าทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และได้รับการฝึกฝนการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในช่องท้องจากสถาบันที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านการปลูกถ่ายอวัยวะไต การปลูกถ่ายตับ
  2. อายุรแพทย์โรคไต เฉพาะทางด้านปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplant Nephrologist) ให้การดูแลทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายไต
  3. ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ให้คำปรึกษาและดูแลระบบทางเดินปัสสาวะในผู้รับการปลูกถ่ายไต
  4. วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist)
  5. ฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ พยาบาลประสานงานปลูกถ่ายอวัยวะ จิตแพทย์ เป็นต้น

การบริการ / การวินิจฉัย / การรักษา

 

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ บริการดูแลรักษา ปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (หากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายไม่มีข้อห้ามการปลูกถ่ายไต) และโรคที่เกี่ยวเนื่องภายหลังการปลูกถ่ายไต โดยให้บริการในกลุ่มโรค ดังนี้

  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและมีความสัมพันธ์เป็นสามี ภรรยา บุตร พี่ น้อง
  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต โดยบริจาคผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซ้ำ (Re-Transplantation)
  • บริการผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดที่เลี้ยงไตผิดปกติหลังการปลูกถ่ายไต
  • บริการผ่าตัดแก้ไขท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหลังการปลูกถ่ายไต
  • บริการตรวจเนื้อเยื่อ การแทรกซ้อนหลังการปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation biopsy)
  • บริการรักษาภาวะไตที่ทำงานผิดปกติหลังทำการปลูกถ่ายไต เช่น การปฏิเสธไต หรือ ภาวะสลัดไต (Kidney Transplantation Rejection)
  • บริการรักษาภาวะการติดเชื้อหลังการปลูกถ่ายไต เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อในปอด ติดเชื้อในตับ ติดเชื้อในช่องท้อง ติดเชื้อในทางเดินอาหาร ติดเชื้อในสมอง ติดเชื้อไวรัส CMV ติดเชื้อไวรัส BK ติดเชื้อราที่รุนแรงต่อชีวิต ฯลฯ
  • บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและเฉียบพลัน
  • บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasmapheresis)
  • บริการฟอกเลือดฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
  • บริการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย
  • บริการตรวจประเมินผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant Evaluation)

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับหลังปลูกถ่ายไต

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์กว่าการฟอกไต 3 ประการ คือ

  1. คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า (Better Quality of Life) ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องทนเข้ารับการฟอกไตที่ใช้เวลานาน
  2. ค่ารักษาในระยะยาวโดยรวมถูกกว่า (Low Cost in Long-Term Treatment) ในระยะแรกค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีจำนวนสูงและต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันภายหลังการผ่าตัดตลอดชีวิต แต่หากคำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายการปลูกถ่ายไตจะมีจำนวนถูกกว่าการฟอกไต
  3. อัตราการรอดชีวิตสูงกว่า (Lower Mortality) การผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่ฟอกไต โดยภาพรวมอัตราการเสียชีวิตในขณะฟอกไตมีจำนวนประมาณ 10-20% ต่อปี

ในขณะที่อัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตที่ 1 ปี มีจำนวนประมาณ 95-99% และอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี มีจำนวนประมาณ 90 %

โดยไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. ไตที่มาจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Donor)
  2. ไตที่มาจากผู้บริจาคที่สมองตาย (Deceased Donor)

รายนามแพทย์ประจำศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์

  • นพ. สิโรจน์ กาญจนปัญจพล
  • ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
  • นพ. นิวัฒน์ เรืองกิตติสกุล
  • นพ. พิมพ์พล หงษ์ทอง
  • ผศ.นพ. ธนรร งามวิชชุกร
  • นพ. พีระ ช้างแก้ว
  • นพ. ไพฑูรย์ ขจรวัชรา
แพทย์ในศูนย์ปลูกถ่ายไต