Shopping Cart

No products in the cart.

สัญญาณอันตราย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในปัจจุบัน เป็นโรคที่มีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติข้อมูลปี 2563 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การเสียชีวิตของคนไทย ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่า ร้อยละ 80 เสียชีวิตด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยส่วนมากจะไม่แสดงอาการและเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้นโรคนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะทุกนาที วินาทีหมายถึงชีวิต

 

รู้จักโรค โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ภาวะที่หลอดหัวใจเสื่อมสภาพ มีการปริแตกบริเวณผนังหลอดเลือดด้านใน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้นบริเวณของหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและขาดออกซิเจน และสามารถนำมาสู่ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ความอ้วน
  • ผู้ที่มีความเครียด
  • สูบบุหรี่
  • เพศ : ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง และผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน
  • อายุ : ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะเริ่มในอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการแบบนี้ต้องระวัง!!

  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เหงื่อออก
  • เวียนศีรษะ

สัญญาณอันตรายของ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • เจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย
  • จุกแน่น อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือท้องแขนซ้าย กรามหรือคอด้านซ้าย
  • มีอาการใจหวิว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ เหงื่อซึม หน้ามืดหมดสติ

หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะอาการเหล่านี้…เป็นส่วนหนึ่งของ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว หัวใจจะหยุดเต้น สมองอาจขาดออกซิเจน กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตในที่สุด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

รู้ได้อย่างไร…ว่าเป็น??

  • การซักประวัติและอาการของผู้ป่วย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงพร้อมการให้ยา (Dobutamine Stress Echocardiography)
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography)

การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน!!

  • ควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะคนอ้วนหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินและสารอื่นๆ มีอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

 

เพราะหัวใจพูดไม่ได้
หากรู้เร็วและมีอาการผิดปกติ
หรือแม้มีอาการเจ็บหน้าอกเพียงเล็ก
ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เมื่อถึงมือแพทย์
จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต
และได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
โอกาสรอดชีวิตมีมากกว่า

ศูนย์หัวใจ
ชั้น 3 โรงพยาบาลไทยนครินทร์

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ. อัญชิสา วงศ์ชนะยุทธ
พญ. อัญชิสา วงศ์ชนะยุทธ
แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์