Shopping Cart

No products in the cart.

ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต

‘ฟอกไต’ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้กำจัดของเสียในร่างกายแทนไตของผู้ป่วยโรคไตวาย โดยจะนำเลือดของผู้ป่วยออกจากร่างกายไปเข้าเครื่องฟอกไต จากนั้นจะนำเลือดที่กำจัดของเสียออกแล้วกลับเข้าสู่ร่างกาย โดยวิธีที่จะนำเลือดออกจากร่างกายไปฟอกนั้นมี แบ่งเป็น 2 แบบ

 

1.แบบกึ่งถาวร

แบบกึ่งถาวร เป็นการใส่สายฟอกเลือดผ่านผิวหนังภายนอกโดยปลายด้านในไปคาไว้ที่หลอดเลือดดำขนาดใหญ่ส่วนปลายอีกด้านอยู่นอกร่างกายซึ่งการผ่าตัดแบบนี้ทำให้ผู้ป่วยสามารถผ่าตัดฟอกไตได้เลยแต่มีข้อเสียคือมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าการผ่าตัดแบบถาวร เพราะสายอยู่ภายนอกร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถอาบน้ำได้เนื่องจะนำพาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่าทางสายฟอกไต โดยจะแนะนำวิธีนี้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าทำเส้นฟอกไตแบบถาวรได้

ผ่าตัดเส้นเลือดเพื่อฟอกไต
ภาพจาก: หนังสือ comprehensive vascular and endovascular surgery 2rd edition

2.แบบถาวร

แบบถาวร เป็นการเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเข้าด้วยกัน เพื่อให้เลือดปริมาณมากไหลจากหลอดเลือดแดงไปหลอดเลือดดำที่อยู๋ตื้นใต้ผิวหนัง จากนั้นก็จะแทงเข็ม 2 จุดที่หลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นใต้ผิวหนัง โดยใช้ 1 เข็มดึงเลือดออกจากร่างกายไปเข้าเครื่องฟอกไต อีก 1 เข็มจะเป็นการนำเลือดจากเครื่องฟอกไตกลับเข้าสู่ตัวคนไข้ ซึ่งข้อเสียของวิธีนี้ก็คือไม่สามารถฟอกไตได้ทันที โดยวิธีนี้แบ่งออกเป็นวิธีย่อยอีก 2 แบบ

  • การผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ใช้เส้นเลือดจริงของผู้ป่วย (Arteriovenous fistular) โดยวิธีนี้จะทำการเชื่อมหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเข้ากับหลอดเลือดแดง โดยเลือดจะไหลจากหลอดเลือดแดงไปหลอดเลือดดำ โดยหลังผ่าตัดต้องรอระยะเวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์เพื่อให้หลอดเลือดดำโตแข็งแรงจนสามารถแทงเข็มเพื่อล้างไตได้ ข้อดีของวิธีนี้ คือ โอกาสติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนต่ำ อายุการใช้งานยาวนานกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดโดยใช้เส้นเทียม รวมถึงค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเนื่องจากหลอดเลือดเทียมมีราคาแพง
การผ่าตัดเพื่อฟอกเลือด
ภาพจาก: lookfordiagnosis.com
  • การผ่าตัดใช้เส้นเทียมต่อเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ (Arteriovenous graft fistular) โดยจะผ่านำหลอดเลือดเทียมไปไว้ใต้ผิวหนังโดยปลายด้านจะต่อกับหลอดเลือดดำ ปลายอีกด้านจะเชื่อมกับหลอดเลือดแดง โดยจะนิยมผ่าตัดวิธีนี้ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดดำใต้ผิวหลังไม่โต โดยหลังจากแขนยุบบวมจะ ทำการแทงเข็ม เข้าที่หลอดเลือดเทียม มีข้อดีคือ หลังผ่าตัดถ้าแขนยุบบวมดีก็สามารถแทงเข็มที่หลอดเลือดเทียมเพื่อฟอกไตได้เลย ข้อเสียของวิธีนี้คือหลอดเลือดเทียมมีราคาแพง โอกาสติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนสูง เมื่อเทียบกับการผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดจริงของผู้ป่วย
ภาพจากหนังสือ: comprehensive vascular and endovascular surgery 2rd edition

การผ่าตัดเพื่อฟอกไตทั้ง 3 แบบ
ส่วนใหญ่ฉีดยาชา ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร ไม่ต้องนอน รพ. กลับบ้านได้
ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นต้องให้ยานำสลบ
โดยวิสัญญีแพทย์หรือมีโอกาสเลือดออก
จึงจำเป็นต้องนอน รพ.

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. จักรชัย บุณยวณิชย์
นพ. จักรชัย บุณยวณิชย์
ศัลยแพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์สาขาหลอดเลือด
ข้อมูลแพทย์