ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มจะเป็นโรคไต ‘เพิ่มสูง’ ขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรังที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 17.6 ต่อปี ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคไต ได้แก่ คนที่ครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคไตหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุโรคไต เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง, การรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน, เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง กระทั่งพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสชาติจัดจ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาหารแนวฟาสต์ฟู้ด ที่มีส่วนผสมของซอสปรุงรส ผงหมัก และเกลือ
โดยทั้งหมดทั้งมวลที่ได้กล่าวไป ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในภายหลัง รวมไปถึงเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตวายเรื้อรังอีกด้วย
โรคไต สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
- ไตวายเรื้อรัง : ไตถูกทำลายบางส่วน มีสาเหตุเกิดจากโรคเบาหวาน, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม, ความดันโลหิตสูง และการได้รับยาที่เป็นพิษต่อไต ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาด้วยการฟอกไตเพื่อประคับประคองอาการ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือ การผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่จะช่วยให้ไตกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงเป็นปกติที่สุด
- ไตวายเฉียบพลัน : กล่าวคือไตขาดเลือดเฉียบพลัน มีต้นเหตุจากการอักเสบของไต โดยพบมากกับผู้ป่วยที่รับประทานยาสมุนไพร ยาบำรุง และกลุ่มยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งการดูแลรักษาไตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องรีบกระทำอย่างทันท่วงที
7 อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยง ‘ไตวายเรื้อรัง’
- คิดอะไรไม่ค่อยออก
- เบื่ออาหาร และอ่อนแรง
- ผิวแห้ง และคันตามผิวหนัง
- เนื้อตัวซีดเซียว
- เท้าและข้อเท้าบวมเป่ง
- ปัสสาวะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- มีอาการปวดบั้นท้าย เอว หรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวและไม่อยู่ตรงกลางหลัง)
การดูแลรักษาโรคไตและบริการของ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ศูนย์ปลูกถ่ายไตโรงพยาบาลไทยนครินทร์ พร้อมให้การดูแลรักษาไตอย่างครบครันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เปี่ยมคุณภาพและมีมาตรฐาน ทั้งยังมีทีมบุคลากรมากประสบการณ์ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไตที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรจากสมาคมโรคไต พยาบาลผู้ชำนาญการตามมาตรฐานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย รวมไปถึงทางโภชนากรและเภสัชกรที่จะคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไต ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตเสื่อม และช่วยให้การดูแลรักษาโรคไตมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ พร้อมให้บริการสำหรับผู้ป่วยทั่วไป ข้าราชการ และผู้ป่วยในระบบประกันสังคมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง โดยผู้ที่ถือสิทธิ์ข้าราชการหรือประกันสังคมสามารถเบิกได้ตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลกำหนด