การปลูกถ่ายไต คือ การนำไตจากผู้บริจาคที่เป็นบุคคลอื่นนำมาปลูกถ่ายให้กับบุคคลคนหนึ่งๆ ซึ่งเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันมีที่มาของไต 2 แบบ คือ จากผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้บริจาคสมองตาย ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตได้ดีใกล้เคียงเดิมและมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการฟอกไต
ปลูกถ่ายไต ทำได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง
วิธีการปลูกถ่ายไต ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามผู้บริจาค ดังนี้
1. ปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่มีชีวิต
ตามระเบียบแพทย์สภากับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาด มีอยู่ 3 กรณีที่สามารถเป็นผู้บริจาคไตได้ คือ
1. พ่อแม่ลูก
2. ญาติพี่น้องสายตรง
3. สามีภรรยา
2. ปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่สมองตาย
ผู้ป่วยจะต้องเข้าคิวรับบริจาคไตจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะซึ่งจะทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลผู้บริจาคและโรงพยาบาลที่รับการปลูกถ่ายไต เมื่อมีผู้บริจาคทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่จะประสานงานในการนำไตที่มีคุณภาพที่ดีให้กับโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์ปลูกถ่ายไตนำไปปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต่อไป
หลังจากปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติหรือไม่
วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลัก ๆ คือ การฟอกไต และการปลูกถ่ายไต สำหรับการปลูกถ่ายไตมีประโยชน์ที่ชี้ชัดจากการวิจัย คือ คุณภาพการใช้ชีวิตที่ดีกว่า ดังนั้นคนไข้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตย่อมมีคุณภาพชีวิตและมีประสิทธิภาพในการที่จะมีชีวิตอยู่ทั้งเรียกว่าการกิน การนอน ได้ใกล้เคียงกับคนที่ปกติทั่ว ๆ ไปนั่นเอง นอกจากนี้ในระยะยาวยังมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการฟอกไต และประโยชน์ของการปลูกถ่ายไตสูงสุด คือ ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกไต ดังนั้นจึงขอสรุปว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตแล้วคนไข้ก็จะสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างใกล้เคียงกับคนที่ปกติทั่วไปมากที่สุด
ศูนย์ปลูกถ่ายไต
โรงพยาบาลไทยนครินทร์
02-340-7777