Shopping Cart

No products in the cart.

ฝังรากฟันเทียม (Dental Implant)

‘ฝังรากเทียม’ คือ การทดแทนฟันธรรมชาติด้วยวัสดุไทเทเนี่ยม ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันธรรมชาติ คือมีรากและตัวฟันเหมือนกับฟันจริง หลังปลูกรากฟันเทียมไปสักระยะ รากฟันจะยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกร มีการเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของรากฟันเทียมคือ ฟันเทียมที่ทดแทนและทำหน้าที่คล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด

 

รู้จักรากฟันเทียม (Dental Implant)

การรักษาฟันด้วยวิธีฝังรากเทียม ช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ที่หลุดไป ด้วยการผ่าตัดฝังรากเทียมเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียตัวฟันและรากฟันธรรมชาติไป โดยอาจจะทำฟันปลอมทับ หรือครอบฟันมายึดติดกับรากฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป เพื่อให้ฟันผู้ป่วยสามารถบดเคี้ยวได้เสมือนฟันจริง

ฝังรากฟันเทียม (Dental Implant)

การทำงานของรากฟันเทียม

รากฟันเทียม (Dental Implant) จะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกร เมื่อทั้งสองส่วนเชื่อมประสานกันได้สนิทแล้ว จะทำให้เกิดการรองรับฟัน ส่งผลให้ฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอม ที่ทำงานร่วมกับรากเทียมไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ โดยจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา

ฝังรากฟันเทียม (Dental Implant)

รากฟันเทียมเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาฟันแบบใดบ้าง

  • การสูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตก หัก
  • ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัว ฟันปลอมหลุดง่าย
  • ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
  • ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้

รากฟันเทียม (Dental Implant)

ข้อดีของรากฟันเทียม

  • สามารถเคี้ยวอาหารได้ดี เสมือนฟันจริง
  • ให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติ
  • ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ
  • ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
  • ดูแลทำความสะอาดง่าย
  • คงทนถาวร
  • เพิ่มความมั่นใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ปลอดภัยสูง เเละสามารถใช้รักษาร่วมกับสะพานฟันเเละครอบฟัน สำหรับคนไข้ที่มีฟันแท้เหลือน้อย หรือผู้ที่ต้องการทำฟันปลอมได้

วิธีการดูแลรากฟันเทียม

วิธีการดูแลรักษา คือเหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันทำความสะอาดและใช้ไหมขัดฟันได้ปกติ

รากฟันเทียม (Dental Implant)

 

การฝังรากเทียม
ดีกว่าฟันเทียมแบบอื่น
คือไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง
ในกรณีทำฟันปลอมแบบสะพานฟัน
หรือไม่ต้องใช้ตะขอเกี่ยว
ในกรณีทำฟันปลอม
แบบถอดได้

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
ทพญ. ธัญยธรณ์ นริพทะพันธุ์
ทพญ. ธัญยธรณ์ นริพทะพันธุ์
ทันตแพทย์ประจำโรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์