Shopping Cart

No products in the cart.

มะเร็งตับ โรคเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยสูงสุด

มะเร็งตับ โรคเงียบที่คนไทยมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิง

มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) เกิดจากเซลล์ของตับที่เป็นมะเร็ง เกิดการแบ่งตัวแล้วแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โรคนี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการในระยะกลาง-ระยะสุดท้ายแล้ว ทำให้อันตรายอย่างมาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคมะเร็งตับ

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ซี
  • ไขมันพอกตับจากเบาหวาน และโรคอ้วน (Fatty Liver)
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือสาเหตุอื่น
  • อาหารที่มี Aflatoxin, Nitrites สูง

มะเร็งตับ 4 ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค

อาการ มะเร็งตับ

มะเร็งตับระยะแรกๆ มักไม่มีอาการ แต่จะแสดงอาการในระยะสุดท้าย
  • ปวดท้อง
  • น้ำหนักลด
  • คลำเจอก้อนแข็งบริเวณท้องส่วนบน
  • ท้องมาน
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • เท้าบวม

มะเร็งตับ (liver cancer) อาการเตือนก่อนเกิดโรค

มะเร็งตับ มีวิธีการตรวจอย่างไรบ้าง?

วิธีตรวจมะเร็งตับในปัจจุบันมีวิธีใดบ้าง?
  • ซักประวัติและตรวจร่างกาย
  • ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha-Fetoprotein)
  • ตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan และตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
  • ตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การรักษามะเร็งตับ

  • การผ่าตัด เช่น ตัดออกบางส่วน หรือปลูกถ่ายตับ สำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ จะสามารถทำได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนในตับขนาดน้อยกว่า 5 ซม. และต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี
  • การทำลายเนื้อเยื่อมะเร็งตับ เช่น ใช้ความร้อนแบบ Radiofrequency Ablation หรือ Microwave Ablation, รักษาด้วยการใช้ความเย็น, และรักษาด้วยการใช้แอลกอฮอล์
  • การฉายรังสีจากภายนอกลำตัว เพื่อทำให้แสงรังสีมุ่งเป้าเฉพาะเจาะจงต่อเนื้อเยื่อมะเร็งตับ โดยไม่ให้เกิดภาวะข้างเคียงต่ออวัยวะรอบข้าง
  • รังสีวิทยา เช่น การใส่ยาคีโม การใส่สารรังสี เพื่อทำลายชิ้นเนื้อมะเร็งตับ
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด เช่น PD-1 and PD-L1 Inhibitors และ CTLA-4 Inhibitor
  • ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ Kinase Inhibitor และ Monoclonal Antibodies

7 ทริคป้องกัน มะเร็งตับ

การป้องกันมะเร็งตับ

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ได้แก่ ลดดื่มแอลกอฮอล์ ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะไขมันพอกตับ
  • ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี
  • งดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ บี ควรได้รับการฉีดวัคซีน
  • หากมีความเสี่ยงควรได้รับการตรวจเช็ก ตามคำแนะนำของแพทย์

“การลดความเสี่ยงมะเร็งตับที่ดีที่สุด
คือการหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นประจำ
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี
เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในผู้ป่วยกลุ่มนี้
หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้น
เป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน”

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. สิโรจน์ กาญจนปัญจพล
นพ. สิโรจน์ กาญจนปัญจพล
ศัลยแพทย์ประจำ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์