Shopping Cart

No products in the cart.

การดูแลรักษาไต หลังปลูกถ่ายไต ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ผู้ป่วยกลุ่มใดควรปลูกถ่ายไต

จากข้อมูลของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายควรจะได้รับการประเมินด้วยการปลูกถ่ายไตยกเว้นเขามีข้อห้ามของการปลูกถ่ายไต ดังนั้นจะบอกได้ว่าถ้า ท่านเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเรื่องของโรคไตวาย ตั้งแต่ระยะที่หนึ่ง ยันระยะที่ 5 เมื่อท่านป่วยโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ระยะที่ท้ายๆ แล้วประมาณสักระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 ท่านควรจะได้รับการประเมินด้วยการปลูกถ่ายไตนั่นเอง

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไรหลังปลูกถ่ายไต

เมื่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ได้รับการปลูกถ่ายไตแล้ว จะมีสิ่งสำคัญอยู่ 2 ประการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตไปแล้ว ดังนี้

  • ข้อที่ 1 ป้องกันไม่ให้ไตวาย กลับไปวายหรือกลับไปเสื่อมอีก ก็คือเป็นการป้องกันทั่วๆไป เช่น ลดเค็ม รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอแล้วก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เป็นข้อแนะนำวิธีการป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมไปอีกครั้งหนึ่ง
  • ข้อที่ 2 ป้องกันการเกิดภาวะปฏิเสธไต หลังปลูกถ่ายไตแล้วเนี้ยะคนไข้ต้องได้รับการรับประทานยากดภูมิคุ้มกันนะครับไปตลอดชีวิตไม่สามารถหยุดได้ซึ่งยากดภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่สำคัญเลยอันที่ 2 ที่คนไข้ทุกรายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาให้ตรงเวลาและวิธีด้วย มีเพียง 2 วิธีแค่นี้ที่แนะนำ

คำแนะนำในการรับประทานอาหาร การดูแลรักษาไต

สำหรับคนไข้ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตก็จะมีอาหารบางอย่างที่ถูกจำกัด จะแบ่งเป็นอาหารที่ไม่ควรรับประทานเพื่อป้องกันเสื่อมของไตตามคำแนะนำทั่วๆไป คือ การลดเค็ม ลดอาหารที่มีผลต่อไตได้แก่ พวกอาหารที่มีโซเดียมสูงกับอันที่ 2 ก็คือเป็นอาหารที่อาจจะมีผลต่อระดับยากดภูมิคุ้มกัน คนไข้ทุกๆราย ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตไปแล้วในระหว่างที่นอนโรงพยาบาลจะมีนักโภชนาการมาให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารในระหว่างนอนในโรงพยาบาลและมีการตรวจซ้ำรอบที่ 2 และรอบที่ 3 จนกระทั่งตรวจได้ว่าคนไข้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีก่อนที่จะถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอาหารที่จะมีปัญหาที่ส่งผลต่อระดับยากดภูมิคุ้มกัน การรับประทานอาหารที่ผิดวิธีเช่นสุกๆดิบๆหรือผลไม้บางอย่างที่รับประทานโดยที่ไม่ได้ปอกเปลือกอาจจะส่งผลต่อคนไข้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันได้นะครับจะมีการแนะนำอยู่ 2 วิธี ด้วยเช่นเดียวกัน

ศูนย์ปลูกถ่ายไต

โรงพยาบาลไทยนครินทร์
02-340-7777

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์