Shopping Cart

No products in the cart.

ฟื้นฟูอาการ Long COVID ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

Long COVID Syndrome เป็นภาวะที่คนติดโควิดและรักษาหายแล้ว แต่มีอาการหลงเหลือจากการเป็นโควิด โดยทั่วไปจะฟื้นฟูได้ภายใน 1 เดือน หลังจากเวลาผ่านไปกลับรู้สึกว่าร่างกายยังไม่ปกติ เช่น ไอหรือมีเสมหะเรื้อรัง หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว บางคนความดันสูง/ต่ำ ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่มีปัญหาเรื่องความดัน นอนไม่หลับ เป็นต้น ในทางแพทย์แผนจีนมองว่า เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘ซือตู๋อี้’ 湿毒疫 คือ พิษและความชื้น ตามทฤษฏีจะเป็นโรคที่แพร่กระจายง่าย ติดง่าย และร่างกายของผู้ป่วยยังมีปัจจัยก่อโรคได้อยู่ ซึ่งร่างกายเราแต่ละคนยังไม่สามารถเข้าสู่สภาวะปกติได้

 

ฟื้นฟูอาการ Long COVID ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

อาการ Long COVID ที่พบบ่อย

เกิดได้หลายอาการมาก สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด เช่น หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ บางคนมีอาการด้านจิตใจ ซึมเศร้า ค่าไขมันสูงในบางราย ภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานบางราย/ปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน กรดไหลย้อน/บางรายเสี่ยงกับการติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องรับยากดภูมิ

ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็น Long COVID

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น
    – โรคหอบหืด
    – โรคหัวใจ
    – โรคอ้วน
    – โรคเบาหวาน
    – ความดันโลหิต

ฟื้นฟูอาการ Long COVID ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

การรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยมีภาวะ Long COVID ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีนใช้เรื่องการ ‘หย่าง เซิง’ 养生 คือ การบำรุง ปกป้อง ปรับสมดุล โดยใช้ยาจีนในการรักษา ยาตำรับที่ใช้รักษาคือ ตำรับ ‘ชิงเฟ่ยไผตู๋ทัง’ เป็นตำรับยาที่คณะกรรมการสาธารณสุขและสุขภาพแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกาศให้ใช้รักษาผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ Covid-19 ไว้ในแนวทางการตรวจรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 6

การฟื้นฟูผู้ป่วย Long COVID
จะใช้ยาจีนเป็นหลัก ร่วมกับการฝังเข็ม
ครอบแก้ว
นวดทุยหนา เป็นการปรับสมดุล Balance
ร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว
ซึ่งทาง รพ.ไทยนครินทร์
พร้อมให้บริการ

ฟื้นฟูอาการ Long COVID ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

แนวทางป้องกัน Long COVID ด้วยสมุนไพรจีน

แพทย์จีนจะจ่ายยาสมุนไพรโดยดูสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน ก่อนจะจ่ายยา เน้นไปทางช่วยบำรุงชี่ของปอดและม้ามเป็นหลัก และมีปรับยาไปตามสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีแนวทางป้องกันนอกจากสมุนไพรจีน ยังมีเรื่องการกดจุดทุยหนา ฝังเข็ม ครอบแก้ว ได้อีกด้วย

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
แพทย์จีน ฆรวรรณ ชินวรปัญญา
แพทย์จีน ฆรวรรณ ชินวรปัญญา
แพทย์แผนจีน โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์