‘โรคฝีดาษวานร’ หรือ ‘ไข้ทรพิษลิง’ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxvirus พบครั้งแรกในลิงที่เลี้ยงไว้วิจัยในปี 1958 พบในคนครั้งแรกในปี 1970 ในประเทศคองโก ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อในแอฟริกา มักตรวจพบในสัตว์ฟันแทะและลิง
โรคฝีดาษวานรหากติดเชื้อแล้ว จะมีอาการอย่างไรบ้าง
อาการระยะแรกเริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต 1-5 วัน ต่อมามีอาการแสดงทางผิวหนัง เป็นตุ่มเริ่มจากจุดแดง เป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และแห้งแตกออก โดยมักพบบริเวณหน้าแขนขา มากกว่าลำตัวใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ตุ่มที่ผิวหนังถึงจะแห้งหมด
เชื้อฝีดาษวานร ติดต่อทางไหนได้บ้าง
ไวรัสสามารถเข้าสู่คนได้ทั้งทางเดินหายใจ และทางเยื่อบุหรือผิวหนัง โดย
- จากสัตว์สู่คน เช่น โดนสัตว์ป่วยข่วนหรือกัด รับประทานเนื้อสัตว์ป่าที่ไม่สุก
- จากคนสู่คน สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจหรือผิวหนังของคนป่วย เช่น น้ำลายจากการไอ หรือน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล
กลุ่มรักร่วมเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคฝีดาษวานร เป็นเรื่องจริงหรือไม่?
โรคฝีดาษวานรไม่ได้เจอเฉพาะรักร่วมเพศ แต่รอบการระบาดครั้งนี้เจอในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้กำลังมีการเก็บข้อมูลว่าเกิดจากสาเหตุอะไร อาจจะเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกัน
โรคฝีดาษวานร อันตรายแค่ไหน
มีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หากเข้าตาทำให้ตาอักเสบจนทำให้ตาบอดได้ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ แต่อัตราเสียชีวิตไม่สูงมากประมาณ 3-6%
การวินิจฉัยและรักษาโรคฝีดาษวานร
- การวินิจฉัย : สามารถตรวจสารพันธุกรรม (PCR) ของเชื้อได้จาก น้ำลาย น้ำหรือหนองจากตุ่มแผล
- การรักษา : ยังไม่มียามาตรฐานเฉพาะเจาะจงแต่สามารถใช้ยาที่รักษาฝีดาษคนมารักษาได้ เช่น ยา Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir, การฉีดวัคซีน Smallpox
วิธีป้องกันและการดูแลตนเอง
ไม่ให้เสี่ยงโรคฝีดาษวานร คือเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด
สัตว์ฟันแทะหรือลิงที่มีอาการและคนที่มีอาการ
หรือมีความเสี่ยงสูง หากมีความกังวล
หรือสงสัย สามารถปรึกษาแพทย์
รพ.ไทยนครินทร์