Shopping Cart

No products in the cart.

โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

‘โรคฝีดาษวานร’ หรือ ‘ไข้ทรพิษลิง’ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxvirus พบครั้งแรกในลิงที่เลี้ยงไว้วิจัยในปี 1958 พบในคนครั้งแรกในปี 1970 ในประเทศคองโก ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อในแอฟริกา มักตรวจพบในสัตว์ฟันแทะและลิง

 

โรคฝีดาษวานรหากติดเชื้อแล้ว จะมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการระยะแรกเริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต 1-5 วัน ต่อมามีอาการแสดงทางผิวหนัง เป็นตุ่มเริ่มจากจุดแดง เป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และแห้งแตกออก โดยมักพบบริเวณหน้าแขนขา มากกว่าลำตัวใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ตุ่มที่ผิวหนังถึงจะแห้งหมด

โรคฝีดาษวานร อาการแสดง

เชื้อฝีดาษวานร ติดต่อทางไหนได้บ้าง

ไวรัสสามารถเข้าสู่คนได้ทั้งทางเดินหายใจ และทางเยื่อบุหรือผิวหนัง โดย
  • จากสัตว์สู่คน เช่น โดนสัตว์ป่วยข่วนหรือกัด รับประทานเนื้อสัตว์ป่าที่ไม่สุก
  • จากคนสู่คน สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจหรือผิวหนังของคนป่วย เช่น น้ำลายจากการไอ หรือน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล

โรคฝีดาษวานร ติดเชื้อทางไหน

กลุ่มรักร่วมเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคฝีดาษวานร เป็นเรื่องจริงหรือไม่?

โรคฝีดาษวานรไม่ได้เจอเฉพาะรักร่วมเพศ แต่รอบการระบาดครั้งนี้เจอในกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะนี้กำลังมีการเก็บข้อมูลว่าเกิดจากสาเหตุอะไร อาจจะเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกัน

โรคฝีดาษวานร อันตรายแค่ไหน

มีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หากเข้าตาทำให้ตาอักเสบจนทำให้ตาบอดได้ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ แต่อัตราเสียชีวิตไม่สูงมากประมาณ 3-6%

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร

การวินิจฉัยและรักษาโรคฝีดาษวานร

  • การวินิจฉัย : สามารถตรวจสารพันธุกรรม (PCR) ของเชื้อได้จาก น้ำลาย น้ำหรือหนองจากตุ่มแผล
  • การรักษา : ยังไม่มียามาตรฐานเฉพาะเจาะจงแต่สามารถใช้ยาที่รักษาฝีดาษคนมารักษาได้ เช่น ยา Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir, การฉีดวัคซีน Smallpox

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร

วิธีป้องกันและการดูแลตนเอง
ไม่ให้เสี่ยงโรคฝีดาษวานร คือ
เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด
สัตว์ฟันแทะหรือลิงที่มีอาการและคนที่มีอาการ
หรือมีความเสี่ยงสูง หากมีความกังวล
หรือสงสัย สามารถปรึกษาแพทย์
รพ.ไทยนครินทร์

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ. อรวลี ดิษยะกมล
พญ. อรวลี ดิษยะกมล
แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์