Shopping Cart

No products in the cart.

รับมือกับอาการ ‘แพนิค’ (Panic) ฟื้นฟูจิตใจ หลังเกิดแผ่นดินไหว

โรคแพนิค (Panic Disorder)
  • ใจเต้นเร็ว สั่นเหมือนตีกลอง
  • เจ็บบริเวณหน้าอก
  • หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
  • รู้สึกมึนงง โคลงเคลง เป็นลม
  • รู้สึกชาหรือซ่าตามปลายมือ ปลายเท้า
  • ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น
  • เหงื่อแตก
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
  • ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป
  • ความกลัวอย่างท่วมทัน ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็น
    สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงอาการ
    บางอย่างที่น่าอายออกไป
โรคแพนิค (Panic Disorder)

ในปัจจุบันมีวิธีรักษาโรคแพนิคที่มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาโรคแพนิคด้วยยา ร่วมกับการดูแลด้านจิตใจหรือการทำจิตบำบัดไปพร้อมกัน การรักษาอื่นๆ เช่น การฝึกผ่อนคลาย การฝึกหายใจ และการเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวพบว่ามีส่วนช่วยให้อาการต่างๆ ดีขึ้นได้ หลังได้รับการรักษาผู้ป่วยโรคแพนิคจะมีอาการดีขึ้นจนหายขาดได้ 7-9 รายใน 10 ราย โดยอาการแพนิคจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มได้รับการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วควรรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันการกำเริบ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการเมื่อหยุดยาได้

  • ฝึกเทคนิกการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด
  • เมื่ออาการแพนิคต่างๆ เริ่มทุเลาลงแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัวและลอง ทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยงโดยเริ่มที่ละน้อยแต่สม่ำเสมอ
  • ไม่ควรบรรเทาอาการแพนิคด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการแพนิคจะรุนแรงขึ้น เมื่อหยุดเสพ
  • ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
  • ออกกำลังกาย
  • ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคแพนิค ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างตรงจุด
โรคแพนิค (Panic Disorder)
  1. ยอมรับความรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้า หวาดกลัว วิตกกังวล หรือสับสน  อย่าพยายามปฏิเสธหรือกดทับความรู้สึกของตนเอง รวมถึงให้เวลากับตัวเองในการฟื้นฟูทางอารมณ์
  2. สร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ด้วยการระบายความรู้สึกผ่านการเขียน พูด หรือพูดคุยกับคนที่เข้าใจ หลีกเลี่ยงการดูข่าวหรือภาพที่อาจกระตุ้นความรู้สึกทางลบ
  3. จัดการความเครียด ด้วยการฝึกหายใจลึกๆ ช้าๆ การออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. พยายามกลับเข้าสู่กิจวัตรเดิม เช่น กินอาหารให้ครบมื้อ นอนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ช่วยให้จิตใจสงบ
  5. ปรึกษานักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เมื่อพบว่ามีอาการทางกายที่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง นอนไม่หลับติดต่อกัน มีความคิดทำร้ายตนเอง มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลอย่างมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
Share
ผู้ที่เขียนบทความ
เรืออากาศโทแพทย์หญิงภิรญา พิธาฐิติกุล
เรืออากาศโทแพทย์หญิงภิรญา พิธาฐิติกุล
จิตแพทย์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์