ตรวจชีพจร ‘แมะ’ (Pulse diagnosis, 脉诊) เป็นวิธีการตรวจโรคทางศาสตร์แพทย์แผนจีนวิธีหนึ่ง จากทั้งหมด 4 วิธี คือ
- การมอง การดู
- การดม การฟัง
- ถามซักประวัติคนไข้
- การจับชีพจร หรือ ‘แมะ’ นั้นเอง
1.การมอง การดู
คือการมอง หรือดู สีหน้าผู้ป่วยว่าเป็นสีอะไร ออกแดง คล้ำ ออกเหลือง หรือซีด นอกจากนี้ยังรวมถึงการมองสรีระร่างกายว่า อ้วน ผอม / การดูรอยแผลผิวหนัง / การดูสีลิ้น สีฝ้าบนลิ้นของผู้ป่วยว่าเป็นสีอะไร เช่น สีแดง สีชมพู หรือสีม่วง สีฝ้าบนลิ้นเป็นขาว สีเหลือง เป็นต้น
2.การดม หรือการฟัง
คือ ดมกลิ่นปาก กลิ่นตัว หรือกลิ่นต่างๆที่ไม่ปกติจากคนไข้ สำหรับการฟัง คือ ฟังน้ำเสียงที่คนไข้พูดคุยกับแพทย์ระหว่างการซักประวัติว่าเป็นอย่างไร เสียงดัง หรือเสียงค่อย เพื่อเป็นการประเมินโรคได้อย่างหนึ่ง
3.การถามซักประวัติคนไข้
คือ การซักประวัติ ถามอาการเจ็บป่วย ประวัติการรักษาโรค และ ระยะเวลาของการเจ็บป่วยต่างๆ
4.การ ‘แมะ’ หรือการจับชีพจร
คือ วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่สำคัญวิธีหนึ่งทางศาสตร์แผนจีน ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของศาสตร์แพทย์แผนจีนที่สืบทอดต่อๆกันมา นับพันปีจนถึงปัจจุบัน
ตามตำราศาสตร์แผนจีนดังเดิมจะแบ่งชีพจรออกได้ 28 ชนิด ในที่นี้จะแนะนำชีพจรที่พบได้บ่อย 10 ชนิด ดังนี้
ลำดับ |
ชนิดของชีพจร |
ผลการวินิจฉัยทางแพทย์แผนจีน |
|
1 |
浮脉 |
ลอย |
ตำแหน่งโรคอยู่ภายนอก (โรคภายนอก) |
2 |
沉脉 |
จม |
ตำแหน่งโรคอยู่ภายใน (โรคภายใน) |
3 |
迟脉 |
ช้า |
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความเย็น |
4 |
数脉 |
เร็ว |
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความร้อน |
5 |
洪脉 |
แรงใหญ่ |
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความร้อนรุนแรง |
6 |
细脉 |
เบาเล็ก |
อวัยวะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ |
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความชื้น |
|||
พลังชี่ และเลือดไม่เพียงพอ |
|||
7 |
弦脉 |
ตึง |
โรคตับ ถุงน้ำดี |
กลุ่มอาการปวด |
|||
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความชื้นและเสมหะ |
|||
8 |
滑脉 |
ลื่น |
โรคระบบทางเดินอาหาร จุกเสียดกระเพาะ |
กลุ่มอาการโรคเกิดจากความร้อนชื้น |
|||
ตั้งครรภ์ / โรคทางสูตินรีเวช |
|||
9 |
虚脉 |
พร่อง |
กลุ่มอาการโรคพร่อง |
10 |
实脉 |
ตึงแรง |
กลุ่มอาการโรคแกร่ง หรือโรคความร้อนสะสม |
จากข้อมูลที่แพทย์แผนจีนได้รับการมอง การดมการฟัง การซักประวัติ และแมะ จะนำข้อมูลที่ได้มาวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นอะไร อะไรเป็นสาเหตุของโรค จะใช้วิธีการรักษาอะไร (สมุนไพร, ฝังเข็ม, ครอบแก้ว, นวดทุยหนา)