Shopping Cart

No products in the cart.

ปวดคอ บ่า ไหล่ รักษาได้ ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่
  1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะ คอ บ่า ไหล่ ซึ่งเป็นอาการปวดบริเวณกว้าง อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมได้ เช่น ปวดสะบัก ปวดหลัง
  2. ปวดศีรษะ (ไมเกรน) ปวดเบ้าตา ปวดหัวคิ้ว
  3. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ซ่า วูบ เย็น ซีด แสบร้อน หรือมีเหงื่อออกตามบริเวณที่ปวดร้าว
  4. อาการของระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น มือชา แขนชา รวมถึงอาการอ่อนแรง ซึ่งอาการชาเหล่านี้สามารถพัฒนามาจากอาการปวดเรื้องรังของเส้นประสาทตึงตัวจนกลายเป็นอาการชา
  5. นิ้วล็อค (Trigger Finger) การใช้เม้าส์หรือการใช้นิ้วมือใช้โทรศัพท์มือถือในท่าเดิมนานๆ เป็นสาเหตุของการอักเสบของเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นจนไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ
  6. นอนไม่หลับ หลับยาก กระวนกระวาย เนื่องจากอาการปวดเรื้อรัง รบกวนกวนขณะนอนหลับ
ออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์แพทย์แผนจีน
  1. ปวดจากติดขัด (ไม่โล่ง) (不通则痛ปู้ทงเจ๋อท่ง) เส้นลมปราณไหลเวียนติดขัด (ไม่โล่ง) จากชี่ เลือดลม หรือจากปัจจัยอื่นๆ ลม ความเย็นและความชื้น ติดขัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนมากพบในกลุ่มทำงานใน office พนักงานขับรถ หรือนักกีฬา
  2. ปวดจากพร่อง (ไม่พอ) (不容则通ปู้หรงเจ๋อท่ง) เส้นลมปราณมีชี่ เลือดลม หรือสารจำเป็นในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถหล่อเลี้ยงเส้นลมปรานได้เพียงพอจึงทำให้ปวด
  • พนักงานออฟฟิศ / พนักงานขับรถ / พนักงานขาย (พนักงานขายตามบูธ พนักงานขายกาแฟ)
    เนื่องจากเคลื่อนไหวน้อย อยู่ในท่า นั่ง ยืน ก้มคออยู่นานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ในอิริยาบทนั้น อักเสบเรื้อรัง เกิดการตึงและปวดได้
  • นักกีฬา
    เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือกระดูก แบบเดิมซ้ำๆ หรือมากเกินไป เช่นการกระชากกล้ามเนื้อ การออกแรงมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ อักเสบเฉียบพลันได้
อาการปวดออฟฟิศซินโดรม ที่พบบ่อย
  1. ปวดศีรษะเรื้อรัง อาจปวดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เกิดจากการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน มีความเครียดจากการทำงาน หรือสภาพแวดล้อมของการทำงานไม่เหมาะสมเช่น แออัดอากาศไม่ถ่ายเท
  2. ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่ ปวดหลัง อยู่บ่อยๆ สาเหตุจากการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆไม่ขยับเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ปวดเรื้อรัง เมื่อรักษาหรือยืดกล้ามเนื้อแล้ว อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราว สักพักอาการปวดกลับมาเป็นอีก อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่แขน ชาปลายนิ้วปวดร้าวลงขา
  3. นิ้วล็อค เกิดจากนั่งพิมพ์เอกสาร ใช้เมาส์ หรือใช้มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้ข้อนิ้วมื้อและข้อมืออักเสบ รวมถึงเส้นประสาทและเนื้อเยื่อโดยรอบ
ฝังเข็ม รักษา ปวดคอ บ่า ไหล่ ศาสตร์แพทย์แผนจีน

คือการนำเข็มเล็กๆ ฝังเข้าไปในจุดฝังเข็ม ซึ่งจุดฝังเข็มจะอยู่ตามเส้นลมปรานของร่างกาย เป็นการลดการอักเสบ และกระตุ้นในกล้ามเนื้อจุดที่มีปัญหาคลายตัว ระงับการปวดเรื้อรัง ทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนได้สะดวก เมื่อเลือดหมุนเวียนได้สะดวกแล้ว อาการปวดจะค่อยๆ บรรเทาลง และหายไปในที่สุด

หลักการฝังเข็ม จะฝังบริเวณจุดหลัก และจุดรอง โดยที่จุดหลักคือจุด หรือบริเวณที่มีอาการปวด จุดรองคือจุดเสริม เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับสมดุล

ปวดคอ บ่า ไหล่ รักษาได้ ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

เป็นการบำบัดรักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีนชนิดหนึ่ง โดยการนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมกับใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งช่วยบำบัดรักษาอาการป่วยได้หลากหลาย เช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยการไหลเวียนโลหิต การอักเสบ ผ่อนคลายและเพื่อสุขภาพที่ดี จากทฤษฏีทางการแพทย์แผนจีนกล่าวไว้ว่าโรคหลายชนิดเกิดจากการเดินทาง ”ชี่” ติดขัด ซึ่งการครอบแก้วนี้ จะช่วยสลายการติดขัดนั้น ทำให้ ”ชี่” เดินทางได้สะดวกขึ้นจึงสามารถรักษาโรคหรือบรรเทาอาการปวดได้

คือนวดกดจุดตามแพทย์แผนจีนคู่กับศาสตร์ฝังเข็ม แพทย์ที่ทำการรักษาจะใช้มือ กด คลึง ถู บีบ ดัด หรือกลิ้ง บนจุดเส้นลมปรานของร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ เลือดลมไหลเวียนสะดวก บรรเทาอาการปวด ปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งการนวดทุยหนาแต่ละจุดจะมีสรรพคุณการรักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป สามารถใช้แทนยาหรือการฝังเข็มได้ในบางโรค เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายในขณะรับการรักษา ไม่มีผลข้างเคียงจากการนวด หรืออาจผสมผสานกับการฝังเข็ม หรือ สมุนไพรจีน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่เร็วและยั่งยืน

กัวซา เป็นศาสตร์แพทย์แผนจีนทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาออฟฟิศซินโดรมลงได้ โดยใช้อุปกรณ์ (หยก, ไม้) มาขูดลงบนผิวหนังตามเส้นลมปราณทั่วร่างกาย เพื่อขับพิษออกจากร่างกายและเสริมสุขภาพให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งวิธีการนี้สามารถบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้ เหมาะสำหรับออฟฟิศซินโดรม ที่เกิดจากอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ ใช้กัวซาขูดพิษขับออกจากร่างกายและฟื้นฟูขึ้นได้

traditional-chinese-medical

1.กดจุด 风池-เฟิงฉือ / 肩井-เจียนจิ่ง

  • กดจุดเฟิงฉือ : ใช้มือทั้งสองประสานที่ท้ายทอย แล้วใช้นิ้วโป้งกดค้างไว้ 5 วินาทีแล้วปล่อย ทำซ้ำ 5 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น สามารถนวดตามแนวกล้ามเนื้อต้นคอทั้งสองข้างพร้อมกันได้ ช่วยบรรเทาอาการปวดต้นคอ และช่วยบรรเทาอาการตาพร่ามัวได้
  • กดจุดเจียนจิ่ง : นวดบ่า ไหล่ด้านซ้าย ให้นั่งเก้าอี้ ทิ้งไหล่ซ้ายลง ใช้นิ้ว 3 นิ้ว นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางมือขวากดคลึง 2-3 นาที ทำซ้ำได้ 2-3 รอบ กล้ามเนื้อบริเวณบ่าจะคลายตัว ลดการปวดได้ทำให้เลือดลมไปเลี้ยงบริเวณที่ปวด และศีรษะได้ดี

2.ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น ปรับความสูงของเก้าอี้ ให้อยู่ในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตา

3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น เล่นโทรศัพท์มือถือให้น้อยลง หรือพยายามปรับอิริบถ ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายทุก 1 ชั่วโมง

4.ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
แพทย์จีน ฆรวรรณ ชินวรปัญญา
แพทย์จีน ฆรวรรณ ชินวรปัญญา
แพทย์แผนจีน โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์