ศูนย์ไตเทียม
ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอายุรแพทย์โรคไต และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย โดยทางแผนกจะมีทั้งห้องผู้ป่วยเตียงรวมและห้องพิเศษแยกเป็นสัดส่วน
ศูนย์ไตเทียม ชั้น 4
ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน
การบริการ การวินิจฉัย การรักษา
ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากอายุรแพทย์โรคไต และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ภายใต้บรรยายกาศของการบริการที่เป็นมิตร พร้อมให้บริการผู้ป่วยทั่วไป ข้าราชการ และผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง โดยผู้ป่วยประกันสังคม สิทธิข้าราชการสามารถเบิกค่าฟอกเลือดจากต้นสังกัดได้ โดยทางแผนกจะมีทั้งห้องผู้ป่วยเตียงรวมและห้องพิเศษแยกเป็นสัดส่วน มีบริการฟอกเลือดฉุกเฉินตลอด 24 ชม.
เทคโนโลยีทางการแพทย์ / เครื่องมือ / ห้องตรวจเฉพาะ
- เครื่องฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง (On-line Hemodiafilltration)
- เครื่องฟอกเลือดแบบปกติ (Hemodialysis)
- ระบบน้ำบริสุทธิ์ผ่านมาตรฐาน AAMI เป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการกำจัดสารตกค้างและฆ่าเชื้อโดยระบบ RO (Reverse Osmosis)
สำหรับสิทธิการเบิกจ่าย ดังนี้
สิทธิข้าราชการ กรมบัญชีกลาง
- เบิกค่าฟอกเลือดได้ครั้งละ 2,000 บาทต่อวัน
- สามารถเบิกค่ายาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือด (EPO) ภายใต้ข้อกำหนดของกรมบัญชีกลาง
สิทธิประกันสังคม
- เบิกค่าฟอกเลือดได้ครั้งละ 1,500 บาทต่อวัน ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
- สามารถเบิกค่ายาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือด (EPO) ภายใต้ข้อกำหนดของประกันสังคม
สิทธิเบิกอื่นๆ
- บริษัทคู่สัญญาสามารถเบิกจ่ายได้ตามเงื่อนไขจากทางต้นสังกัดของผู้ป่วย
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยและญาติในการการดูแลเส้นฟอกเลือดชนิดถาวร
เส้นฟอกเลือดคืออะไร
เส้นฟอกเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือเส้นทางเพื่อนำเลือดออกจากร่างกายของผู้ป่วยไปยังตัวกรองแล้วนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย มี 2 ชนิด คือ สายสวนคาหลอดเลือดดำ และผ่าตัดทำหลอดเลือดถาวร
การดูแลสายสวนคาหลอดเลือดดำหรือสายพลาสติกสำหรับฟอกเลือด
- รักษาความสะอาด ไม่เกาแผล หรือแกะผ้าปิดแผล
- ห้ามแผลเปียกน้ำ
- หากผ้าปิดแผลหลุดหรือเปียกน้ำให้รีบมาโรงพยาบาล เพื่อทำแผลใหม่ทันที
- ไม่หักพับงอหรือนอนทับข้างที่ใส่สายสวนคาหลอดเลือดดำ เพราะอาจทำให้สายหักหรือตัน
- ไม่ควรใส่เสื้อแบบสวมศีรษะ เพื่อป้องกันการดึงรั้งสาย
- หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ทันที เช่น สายเลื่อนหลุด มีไข้ หนาวสั่น ปวด บวม หรือเลือดไหลซึมออกจากแผล
การผ่าตัดต่อเส้นเลือดชนิดถาวรเพื่อฟอกเลือด
- การผ่าตัดต่อเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดของผู้ป่วยเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสามารถฟอกเลือดได้ดี ภาวะแทรกซ้อนน้อย และอายุการใช้งานนานกว่าชนิดอื่นๆ แต่ต้องรอให้เส้นเลือดโตสมบรูณ์ก่อนใช้งาน (2 – 3 เดือน)
- การผ่าตัดเส้นเลือดโดยใช้เส้นเลือดเทียม ถ้าเส้นเลือดผู้ป่วยมีขนาดเล็กแพทย์จะพิจารณาใช้เส้นเลือดเทียมฝังใต้ผิวหนัง สามารถใช้ได้ภายใน 2 – 4 สัปดาห์ หากดูแลได้ดีสามารถใช้งานได้หลายปี
การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่ผ่าตัดเส้นเลือดแบบถาวร
ระยะหลังผ่าตัด
- ในระยะ 3 วันแรก ควรยกแขนข้างที่ผ่าตัดสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อป้องกันและลดอาการบวม
- สามารถเริ่มบริหารเส้นฟอกเลือด ได้หลังการผ่าตัดประมาณ 3 วัน หากไม่มีอาการเจ็บบาดแผล หรือเลือดออกมาก โดยบีบลูกบอลยาง กำเต็มที่(นับ 1 – 10) แล้วคลายออกสลับกันไป ทำวันละหลายๆครั้ง ครั้งละ 10 – 15 นาที
- ระวังแผลผ่าตัดไม่ให้เปียกน้ำ 7 – 14 วัน หรือจนกว่าจะตัดไหม
- หลีกเลี่ยงการกระทบ กระแทกบริเวณผ่าตัด
- ห้ามวัดความดัน ห้ามเจาะเลือด ห้ามฉีดยา ให้เลือดหรือให้น้ำเกลือแขนข้างที่ทำการผ่าตัด
- ห้ามใช้แขนที่มีเส้นฟอกเลือด ยกของหนักและระมัดระวังในการใช้ของมีคม
- ผู้ป่วยที่แพทย์สั่งยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัดควรรับประทานยาให้ครบตามคำสั่งแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะดื้อยาของเชื้อโรค
- ระมัดระวังการสัมผัสสิ่งสกปรก อันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ
ระยะใช้งาน
- ไม่ควรใส่นาฬิกา หรือสร้อยข้อมือ ไม่ใส่เสื้อรัดบริเวณแขนข้างที่ผ่าตัดทำเส้นเลือดฟอกเลือด ไม่นอนหนุนแขนข้างที่ใช้ฟอกเลือด ไม่ควรหิ้วของหนัก
- ทำความสะอาดแขนข้างที่ใช้การฟอกเลือด โดยการฟอกสบู่ แล้วซับน้ำให้แห้ง ก่อนทำการฟอกเลือด
- ตรวจคลำ(แรงสั่นสะเทือน) และฟัง(เสียงฟู่) บริเวณเส้นเลือดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ถ้าไม่มีหรือเบาลงให้รีบมาพบแพทย์ทันที
- ไม่ควรเกาบริเวณผิวหนังที่ใกล้เส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือด
- ควรทำการบริหารเส้นฟอกเลือด โดยบีบลูกยางบอลกำเต็มที่(นับ 1 – 10) แล้วคลายออกสลับกันไป ทำวันละหลายๆครั้ง ครั้งละ 10 – 15 นาที (โดย 24 ชั่วโมงแรกหลังการใช้งาน ไม่ควรทำการบริหารเส้นฟอกเลือด)
- ห้ามวัดความดัน ห้ามเจาะเลือด ห้ามฉีดยา ให้เลือดหรือให้น้ำเกลือแขนข้างที่ทำการผ่าตัด
- ระวังการกระแทกถูกของมีคม หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ของร้อนจัดและเย็นจัด
- สังเกตอาการชาปลายมือ เย็นตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้วมือมีสีคล้ำขึ้นและแจ้งให้พยาบาลทราบเมื่อมีอาการดังกล่าว