Shopping Cart

No products in the cart.

ศูนย์ปลูกถ่ายไต

มีประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 โดยทีมแพทย์ปลูกถ่ายไตหลากหลายแขนงที่มีประสบการณ์สูงจากสถาบันต่างๆ ของประเทศไทย

ศูนย์ปลูกถ่ายไต
Kidney Transplantation Center

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ มีประสบการณ์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 โดยทีมแพทย์ปลูกถ่ายไตหลากหลายแขนงที่มีประสบการณ์สูงจากสถาบันต่างๆ ของประเทศไทย จึงมีความพร้อมที่ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีความซับซ้อนเพื่อทำการปลูกถ่ายไตทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด และโรคที่เกี่ยวเนื่องภายหลังการปลูกถ่ายไต เช่น ภาวะปฏิเสธอวัยวะ (Rejection) โรคหลอดเลือดแดงไตตีบ (Transplant Renal Artery Stenosis) การติดเชื้อภายหลังการปลูกถ่ายไต (Infection) ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด เป็นต้น

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพหลัก ได้แก่

  1. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant Surgeon) เป็นหัวหน้าทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และได้รับการฝึกฝนการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในช่องท้องจากสถาบันที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านการปลูกถ่ายอวัยวะไต การปลูกถ่ายตับ
  2. อายุรแพทย์โรคไต เฉพาะทางด้านปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplant Nephrologist) ให้การดูแลทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายไต
  3. ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ให้คำปรึกษาและดูแลระบบทางเดินปัสสาวะในผู้รับการปลูกถ่ายไต
  4. วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist)
  5. ฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ พยาบาลประสานงานปลูกถ่ายอวัยวะ จิตแพทย์ เป็นต้น

การบริการ การวินิจฉัย การรักษา

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์ บริการดูแลรักษา ปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (หากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายไม่มีข้อห้ามการปลูกถ่ายไต) และโรคที่เกี่ยวเนื่องภายหลังการปลูกถ่ายไต โดยให้บริการในกลุ่มโรค ดังนี้

  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและมีความสัมพันธ์เป็นสามี ภรรยา บุตร พี่ น้อง
  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต โดยบริจาคผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
  • บริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซ้ำ (Re-Transplantation)
  • บริการผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดที่เลี้ยงไตผิดปกติหลังการปลูกถ่ายไต
  • บริการผ่าตัดแก้ไขท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะหลังการปลูกถ่ายไต
  • บริการตรวจเนื้อเยื่อ การแทรกซ้อนหลังการปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation biopsy)
  • บริการรักษาภาวะไตที่ทำงานผิดปกติหลังทำการปลูกถ่ายไต เช่น การปฏิเสธไต หรือ ภาวะสลัดไต (Kidney Transplantation Rejection)
  • บริการรักษาภาวะการติดเชื้อหลังการปลูกถ่ายไต เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อในปอด ติดเชื้อในตับ ติดเชื้อในช่องท้อง ติดเชื้อในทางเดินอาหาร ติดเชื้อในสมอง ติดเชื้อไวรัส CMV ติดเชื้อไวรัส BK ติดเชื้อราที่รุนแรงต่อชีวิต ฯลฯ
  • บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแก่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและเฉียบพลัน
  • บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasmapheresis)
  • บริการฟอกเลือดฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
  • บริการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย
  • บริการตรวจประเมินผู้ป่วยก่อนรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant Evaluation)

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับหลังปลูกถ่ายไต

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้กับผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์กว่าการฟอกไต 3 ประการ คือ

  1. คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า (Better Quality of Life) ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องทนเข้ารับการฟอกไตที่ใช้เวลานาน
  2. ค่ารักษาในระยะยาวโดยรวมถูกกว่า (Low Cost in Long-Term Treatment) ในระยะแรกค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีจำนวนสูงและต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันภายหลังการผ่าตัดตลอดชีวิต แต่หากคำนวณค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายการปลูกถ่ายไตจะมีจำนวนถูกกว่าการฟอกไต
  3. อัตราการรอดชีวิตสูงกว่า (Lower Mortality) การผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่ฟอกไต โดยภาพรวมอัตราการเสียชีวิตในขณะฟอกไตมีจำนวนประมาณ 10-20% ต่อปี

ในขณะที่อัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายไตที่ 1 ปี มีจำนวนประมาณ 95-99% และอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี มีจำนวนประมาณ 90 %

โดยไตที่นำมาใช้ปลูกถ่ายได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. ไตที่มาจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Donor)
  2. ไตที่มาจากผู้บริจาคที่สมองตาย (Deceased Donor)

ทีมแพทย์ศูนย์ปลูกถ่ายไต

นพ. สิโรจน์ กาญจนปัญจพล

นพ. พิมพ์พล หงษ์ทอง

ผศ.นพ. ธนรร งามวิชชุกร

นพ. ไพฑูรย์ ขจรวัชรา

นพ. พีระ ช้างแก้ว