Shopping Cart

No products in the cart.

64 slice CT scan

เป็นการตรวจทางการแพทย์สามารถสร้างภาพตามแนวตัดและแนวขวาง 3 มิติของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูงในการแปลงสัญญาณภาพ

  1. ระบบสมอง : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Brain)เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง หรือการวินิจฉัยหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสารทึบรังสี(Cerebral Angiography) ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ
  2. ระบบช่องท้องและทรวงอก : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจหาเนื้องอกระยะเริ่มต้นในลำไส้ใหญ่ (Colonography CT) และเนื้อเยื่อในปอด (Lung lesion and Lung CT)
  3. ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกสันหลัง มักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อกระดูกหรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง
  4. ระบบหลอดเลือด : เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ(Coronary CT Angiography) การตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ 64 slice CT scan จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที ซึ่งแล้วแต่ระบบที่จะตรวจ และบางกรณีอาจต้องมีการให้สารทึบรังสีโดยการฉีด กิน หรือ สวน ขึ้นอยู่กับอวัยวะหรือระบบที่ตรวจ เพื่อทำให้เกิดความแตกต่างของความทึบต่อรังสีกับอวัยวะที่ต้องการตรวจ และอวัยวะใกล้เคียง

ข้อดีของเครื่อง 64 slice CT scan

  • มีความละเอียดในการตรวจ
  • มีความแม่นยำ
  •  ใช้เวลาน้อย

การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับตรวจ

  1. งดน้ำ งดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 4- 6 ชั่วโมง
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ กรณีต่อไปนี้
    • สตรีตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
    • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีมาก่อน
    • ผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารทะเล
  3. มีผลตรวจเลือดแสดงการทำงานของไต (serum creatinine) ภายใน 1 เดือน นับจากวันเจาะจนถึงวันตรวจ ท่านสามารถที่จะเจาะเลือดจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน และนำผลมาวันตรวจได้

การปฏิบัติตัวในระหว่างการตรวจ

  1.  ในกรณีที่ผู้ป่วยทำการตรวจในระบบช่องท้องส่วนบน และช่องท้องทั้งหมด ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำ ที่มีส่วนผสมของสารทึบรังสี
  2. ในกรณีผู้ป่วยทำการตรวจระบบช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด บางครั้งอาจมีการสวนสารทึบรังสี ผสมน้ำเข้าทางทวารหนัก เพื่อช่วยในการแสดงตำแหน่งของลำไส้ใหญ่แยกออกจากอวัยวะใกล้เคียง
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประจำห้อง เช่น การหายใจเข้า-ออก และกลั้นหายใจ เพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน (ไม่เกิดภาพไหวเพราะเนื่องมาจากการหายใจ)
  4. ในขณะที่ทำการตรวจ เตียงตรวจจะเลื่อนเข้า-ออก พร้อมมีเสียงดังจากการทำงานของเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุมดูแลอยู่ ในขณะกำลังถ่ายภาพเอกซเรย์ เจ้าหน้าที่จะดูแลท่านผ่านทางโทรทัศน์วงจรปิดขณะเดียวกันถ้าท่านมีอาการผิดปกติอื่นๆ ท่านสามารถพูดติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที ผ่านทางไมโครโฟนที่ติดอยู่กับตัวเครื่อง

ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้หลังการฉีดสารทึบสีให้แจ้งพยาบาล หรือรังสีแพทย์ทันที

  • หายใจไม่สะดวก อึดอัด ใจสั่น หน้ามืด
  • อาการคัน มีผื่นแดงตามร่างกาย ใบหน้า
  • อาการปวด บวมแดง รอบๆ ตำแหน่งที่แทงเข็ม

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ

เนื่องจากสารทึบรังสีที่ถูกฉีดเข้าไปจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โดยผ่านการกรองที่ไต ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีควรดื่มน้ำมากๆ (1-2 ลิตร หรือ 5-10 แก้ว) ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเสร็จสิ้นการตรวจ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่แผนกรังสีวินิจฉัย ต่อ 3021

Share