Shopping Cart

No products in the cart.

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจอะไรได้บ้าง

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ช่วยให้แพทย์มองเห็นสาเหตุของอาการต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้วินิจฉัยโรคและสามารถรักษา ลดโอกาสเสี่ยงของโรคร้ายอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร

การส่องกล้องทางเดินอาหารช่วยวินิจฉัยได้ตรงจุดในกรณีที่เจอความผิดปกติสามารถทำการรักษาโดยการตัดติ่งเนื้อโดยที่ไม่มีแผลภายนอกร่างกาย ช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาตั้งแต่อยู่ในระยะแรก ด้วยมะเร็งมักแสดงอาการเมื่ออยู่ในระยะรุนแรง ทำให้รักษายากและอัตราการเสียชีวิตสูง

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่วนบน

จะทำการตรวจหลอดอาหารกระเพาะอาหารลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำเมื่อมีอาการจุกคอ กลืนติด กลืนลำบาก มีอาการแสบหน้าอก เรอเปรี้ยว หรือมีอาการของกรดไหลย้อนซึ่งมีการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ รับประทานอาหารแล้วท้องอืด รับประทานอาหารแล้วอิ่มง่ายรับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น และมีอาการเสี่ยงเกิดมะเร็ง คือ  ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด อาเจียนตลอดเวลา น้ำหนักตัวลด เบื่ออาหาร รับประทานอาหารแล้วอิ่มง่ายมากกว่า  50 %  รวมถึงเป็นการเข้าไปส่องดูสาเหตุที่ชัดเจนว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร  มีติ่งเนื้อ เนื้องอก มะเร็ง หรือไม่

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่วนล่าง

หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยตรวจดูว่ามีแผลอักเสบหรือไม่ มีติดเชื้อ มีติ่งเนื้อหรือไม่ โดยอาการที่ต้องส่องกล้องลำไส้ใหญ่คือ ถ่ายเป็นมูกเป็นเลือด มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ปวดท้องเรื้อรัง ขับถ่ายไม่สุดต้องใช้เวลาเบ่งนาน น้ำหนักตัวลด มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ ประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง อายุเกิน50ปีถึงแม้ไม่มีอาการแนะนำให้ส่องกล้องตรวจดูมะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยสามารถพบแพทย์เพื่อส่องกล้องตรวจระบบทางเดินได้ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ในคราวเดียวกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในการส่องกล้อง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง มักมีอาการหลายอาการพร้อมกันอาจจะมีอาการทั้งอาการของกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย

ส่องกล้องทางเดินอาหาร

การส่องกล้องทางเดินอาหารใช้ระยะเวลาไม่นาน โดยการส่องกล้องส่วนบนใช้ระยะเวลา 5-15 นาที และการส่องกล้องส่วนล่างใช้ระยะเวลา 15-20 นาที การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นการเตรียมตัวคืองดน้ำอดอาหาร 8  ชั่วโมงก่อนการส่องกล้องส่วนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องทานยาระบายที่แพทย์จัดให้ การส่องกล้องใช้วิธีการฉีดยาให้หลับโดยยาออกฤทธิ์ไวผลข้างเคียงน้อยมีวิสัญญีแพทย์ดูแลระหว่างการส่องกล้อง ในกรณีที่มีตรวจแล้วพบติ่งเนื้อ เนื้องอก แพทย์ก็สามารถตัดออกได้ในขณะที่ส่องกล้องในขณะคนไข้ส่องคนไข้ยังหลับอยู่และไม่รู้สึกเจ็บขณะตัดติ่งเนื้อ หลังจากส่องกล้องเสร็จนอนสังเกตอาการสามารถกลับบ้านได้ภายในวัน

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. สิทธิยศ จันทรสาขา
นพ. สิทธิยศ จันทรสาขา
แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหาร โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์