‘งูสวัด’ เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อ Herpes Varicella Zoster ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดไข้อีสุกอีใส ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ในปมประสาทสันหลังเมื่อถูกกระตุ้นจะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคงูสวัดได้ บริเวณที่พบบ่อย คือ บริเวณเอว คอ ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ หรือจากโรค เช่น โรคเอดส์ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การรักประทานยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็ง จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ผู้สูงอายุมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก
อาการเตือน โรคงูสวัด
- ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดแสบ ปวดร้อน
- มีผื่นตุ่มน้ำตามเส้นประสาทข้างใดข้างหนึ่ง
ภาวะแทรกซ้อน
- หากมีอาการปวดรุนแรง อาจพบเส้นเลือดหัวใจและสมองอุดตันภายหลังได้
- อาการปวดปลายประสาทภายหลังรอยโรคหายแล้ว บางรายอาจทำให้มีอาการอัมพาตบริเวณใบหน้าซีกที่ยังมีอาการ แต่พบไม่บ่อยนัก
- อาการแทรกซ้อนทางตา ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ
- การติดเชื้อแบคทีเรียที่แผล
- ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจพบภาวะสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ ผื่นที่ผิวหนังกระจาย ปอดบวม
- งูสวัดในผู้ป่วยโรคเอดส์ ผื่นจะมีอาการรุนแรงมากกว่าในคนปกติ
การรักษาโรคงูสวัด
- ให้ยาบรรเทาอาการปวดจากปลายประสาทอักเสบ ร่วมกับยาทาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
- ยาต้านเชื้อไวรัส รับประทานภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากผื่นขึ้น ซึ่งจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวดและลดจำนวนเชื้อ
วิธีป้องกัน ‘โรคงูสวัด’
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ถึง 97% แม้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนได้หลังจากเป็นโรคไปแล้วอย่างน้อย 6 เดือน แต่ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง เปลี่ยนไต สามารถฉีดได้ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ถึง 97%