Shopping Cart

No products in the cart.

การล้างไตและฟอกเลือดที่โรงพยาบาล ดีสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเรื้อรังนั้น คุณภาพการใช้ชีวิตจะค่อนข้างยากลำบากกว่าคนปกติทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยต้องคอยแบกรับอาการเจ็บปวดทางกาย รวมถึงผลกระทบทางจิตใจที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังได้โดยง่าย แต่ถึงกระนั้น ทางทีมแพทย์ก็มีวิธีรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเรื้อรังได้ โดยการฟอกเลือด ล้างไต หรือทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตกับทางโรงพยาบาล

ซึ่งเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจกำลังคิดสงสัยว่า การฟอกเลือดหรือล้างไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเรื้อรังสามารถทำเองที่บ้านได้ไหม และทั้งสองวิธีข้างต้นมีความเหมือนหรือต่างอย่างไร ในวันนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบด้วยกัน เอาล่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูกันเลย !!

ฟอกเลือดและล้างไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างไร?

เริ่มแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไตของผู้ป่วยโรคไตวายนั้นจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่ากับคนปกติทำให้มีการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีรักษาด้วยการฟอกเลือด หมายถึง กระบวนการนำเลือดภายในร่างกายผู้ป่วยออกมากำจัดของเสียผ่านเครื่องไตเทียม ก่อนที่จะนำกลับคืนสู่ร่างกายผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยกำจัดของเสียในเลือด ปรับสมดุลเกลือแร่ รวมถึงปรับระดับน้ำในร่างกายให้เป็นปกติ

ส่วนการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้อง ทางทีมแพทย์จะทำการวางสายฟอกที่หน้าท้อง จากนั้นค่อยปล่อยน้ำยาฟอกไตเข้าไปเพื่อดูดซับของเสีย และเมื่อครบกำหนด 4-6 ชั่วโมง เราค่อยปล่อยน้ำออกมา โดยการล้างไตวิธีนี้ต้องทำด้วยตนเอง 3-4 ครั้งต่อวัน จึงกล่าวได้ว่าการฟอกเลือดและล้างไตค่อนข้างกินเวลาชีวิตอยู่สักหน่อย แต่ก็เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถมีชีวิตได้ยืนยาวมากขึ้นนั่นเอง

ผู้ป่วยโรคไตวายสามารถทำเองที่บ้านได้ไหม?

โดยปกติผู้ป่วยโรคไตจะมีด้วยกัน 5 ระยะ และเมื่อถึงระยะที่ 5 ผู้ป่วยโรคไตวายก็ต้องเตรียมตัวเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ซึ่งในปัจจุบันการบำบัดทดแทนไตมีทั้งหมด 4 วิธี คือ การฟอกเลือดผ่านไตเทียม, การล้างไตทางช่องท้อง, การผ่าตัดปลูกถ่ายไต และการรักษาแบบประคับประคอง วิธีการล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเรื้อรังสามารถทำเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล แต่สำหรับวิธีรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังไม่สามารถทำเองที่บ้านได้ เนื่องจากต้องอาศัยทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงความรู้ความเชี่ยวชาญในการรักษาของทีมแพทย์เป็นสำคัญ

ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไตวายชนิดเรื้อรัง ควรเลือกวิธีรักษาด้วยการฟอกเลือดหรือล้างไตแบบไหนดีกว่ากัน?

การเดินทางไปฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาล จะมีนางพยาบาลจะคอยดูแลอำนวยความสะดวก ซึ่งผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกระทำการใด ๆ ด้วยตัวเองเลย โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องเดินทางไปฟอกเลือด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อหนึ่งครั้ง แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ ก่อนฟอกเลือดผู้ป่วยต้องควบคุมอาหารและปริมาณน้ำ รวมไปถึงการเตรียมเส้นเลือดที่จะใช้ในการฟอกก็เป็นสิ่งจำเป็น

ในขณะที่การล้างไตทางช่องท้องเองที่บ้าน แม้ผู้ป่วยโรคไตวายชนิดเรื้อรังจะสามารถทำเองได้ที่บ้าน แต่ทว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลจำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรมจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มทำด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และผู้ป่วยต้องล้างไตประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน

ล้างไต

ผลข้างเคียงจากการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องมีอะไรบ้าง?

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง หากขาดความรู้และความเข้าใจวิธีการทำที่ถูกต้อง ผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อบริเวณหน้าท้องมากเป็นพิเศษ
  • ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น เพราะน้ำยาที่ใช้ในการล้างไตมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบค่อนข้างมาก
  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องควบคุมการทานอาหารและน้ำ ก่อนเข้ารับการฟอกเลือดอยู่เป็นประจำ

ข้อดีหรือบริการที่จะได้รับ เมื่อผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับทาง โรงพยาบาลไทยนครินทร์

  • มีพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิดถึงผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการฟอกเลือด
  • มีพยาบาลคอยให้บริการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
  • หากผู้ป่วยโรคไตวายเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แพทย์จะสามารถเข้ามาดูอาการและทำการรักษาได้ทันท่วงที

สรุป

แม้ว่าการฟอกเลือดและล้างไตจะเป็นวิธีรักษาที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ แต่ทว่ายังมีการรักษาไตอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือ ‘การผ่าตัดปลูกถ่ายไต’ ทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายไม่จำเป็นต้องไปฟอกเลือดที่โรงพยาบาล หรือล้างไตเองบ่อยๆ ให้เสียเวลาการใช้ชีวิต อีกทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อบริเวณช่องท้องลงด้วยนั่นเอง

โดยสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังท่านใดที่ต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคไตในแบบต่าง ๆ ก็สามารถมาติดต่อได้ที่ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เรามีทีมแพทย์และพยาบาลผู้ชำนาญงานคอยให้บริการคุณอยู่เสมอ !!

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์