Shopping Cart

No products in the cart.

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่เกิดจากหัวใจจะหยุดบีบตัวอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือน ทันทีที่หัวใจหยุดบีบตัว เลือดก็จะไม่ไหลเวียน สมองและอวัยวะต่าง ๆ จะเริ่มขาดเลือด การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและของเสียในร่างกายก็หยุดลง หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องภายใน 4 นาที โอกาสฟื้นคืนชีพจะลดลง

อาการที่เห็นเด่นชัด หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

  • หมดสติ
  • ชีพจรหยุดเต้น
  • ไม่หายใจ

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

  • โรคที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ภาวะกระแสไฟฟ้าในหัวใจมีความผิดปกติ มีแนวโน้มสูงที่จะนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
  • ภาวะโรคหัวใจแฝง คนทั่วไปที่เราเห็นภายนอกว่ามีร่างกายแข็งแรงและกระฉับกระเฉงก็อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ หากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีภาวะโรคหัวใจแฝงอยู่
  • ปัจจัยเสี่ยงจากโรคอื่นที่มีผลต่อหัวใจ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง พฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำ

การวินิจฉัยและรักษา

“เกิดขึ้นเฉียบพลัน ต้องรักษาทันทีทันใด”
Emergency Treatment ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เพราะทุกวินาทีที่ผ่านไปโดยไม่ได้ทำอะไรเลย จะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะ “สมอง” เนื่องจากสมองไม่มีพลังงานสำรองและต้องใช้ออกซิเจนกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดที่ใช้ในร่างกายมนุษย์

เมื่อได้รับการช่วยชีวิตมาได้แล้ว
ในเบื้องต้นแพทย์จะต้องวินิจฉัย
เพื่อหาสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น
แล้วรักษาตามอาการของผู้ป่วย

ศูนย์หัวใจ
ชั้น 3 โรงพยาบาลไทยนครินทร์

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
ศ.พิเศษ นพ. เศวต นนทกานันท์
ศ.พิเศษ นพ. เศวต นนทกานันท์
หัวหน้าแพทย์ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์