Shopping Cart

No products in the cart.

มะเร็งเต้านมจำเป็นต้องฉายรังสีรักษาทุกคนหรือไม่

รังสีรักษา หรือ Radiotherapy มีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมเพิ่มขึ้น การฉายรังสีจึงมีส่วนช่วยการลดโอกาสกลับเป็นซ้ำบริเวณเต้านมและต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งเต้านมจำเป็นต้องฉายรังสีหรือไม่?

รังสีรักษาเป็นหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมซึ่งการรักษาโรคมะเร็งเต้านมประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. การผ่าตัด 2.การให้ยาเคมีบำบัดและการให้ยาฮอร์โมน และ3.การฉายรังสีโดยบทบาทการให้รังสีรักษามีบทบาทในแง่ของการลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งบริเวณที่เต้านมข้างที่ผ่าตัด และลดโอกาสกลับเป็นซ้ำบริเวณต่อมน้ำเหลือง ส่วนการให้ยาเคมีบำบัดหรือการให้ยาฮอร์โมน มีบทบาทในการลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายบริเวณอื่นของร่างกาย

ทำไมมะเร็งเต้านมต้องฉายรังสี?

ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม รังสีรักษามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ซึ่งคนไข้ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมเพิ่มขึ้น การฉายรังสีจึงมีส่วนช่วยการลดโอกาสกลับเป็นซ้ำบริเวณเต้านมและต่อมน้ำเหลือง แต่กรณีอื่นๆ อย่างเช่นการผ่าตัด การกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ก็เป็นอีกหนึ่งของข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องมีการฉายรังสีรักษาเป็นส่วนประกอบของการรักษาเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ

ผลข้างเคียงระหว่างฉายรังสีรักษามะเร็งเต้านม

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาบริเวณเต้านม ซึ่งรังสีจะมีผลข้างเคียงเฉพาะบริเวณที่ฉายเท่านั้น โดยผลข้างเคียงหลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือผลข้างเคียงเฉียบพลัน คือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในช่วงฉายรังสีซึ่งจะเกิดขึ้นไม่เกิน 3 เดือน และผลข้างเคียงในส่วนนี้ก็สามารถหายได้เมื่อฉายรังสีครบแล้ว ตัวอย่างเช่นผลข้างเคียงบริเวณผิวหนังมีการฉายรังสีไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผิวหนังอาจจะมีสีแดงขึ้นหรือสีคล้ำขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าปกติ หลังจากนั้นเมื่อฉายครบตามกำหนดแล้วก็จะค่อยๆ ดีขึ้น

ส่วนผลข้างเคียงในระยะยาวเนื่องจากการฉายรังสีที่เต้านมมีอวัยวะที่ใกล้เคียงได้แก่ ปอดและหัวใจ ซึ่งติดกับบริเวณเต้านม โดยบริเวณปอดและหัวใจอาจจะได้รับรังสีบางส่วน แต่ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีในปัจจุบันเราสามารถลดปริมาณรังสีที่อวัยวะข้างเคียงได้ดีขึ้น ทำให้ผลข้างเคียงที่เกิดกับปอดและหัวใจลดลง

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ.นิรวิทธ์ รัชพงษ์ไทย
นพ.นิรวิทธ์ รัชพงษ์ไทย
รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์