Shopping Cart

No products in the cart.

ปวดหลังเรื้อรัง รักษาไม่หาย! จุดเริ่มต้นของการเป็น… หมอนรองกระดูกเสื่อม

ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังแตกหรือปลิ้นออกจากตำแหน่งเดิม และไปกดทับเส้นประสาท แต่สำหรับหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ได้ไปกดทับรากประสาทนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเฉพาะจุด โดยไล่ลงมาตั้งแต่อาการปวดบริเวณคอ เอว หลัง และสะโพก เป็นต้น

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างหนัก เช่น ขาบริเวณต้นขาจรดปลายเท้ามีอาการปวด ชา และอ่อนแรง หรือควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ นั่นแสดงว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม แตกหัก และปริ้นออกมากดทับเส้นประสาท โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานกระดูกสันหลังหนักจนเกินไป ใช้งานผิดท่า ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น        

  • ปวดหลังเรื้อรัง : หากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวลงมาตั้งแต่ช่วงเอว สะโพก และขา แต่ถ้าในกรณีที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณคอ ผู้ป่วยจะปวดร้าวตั้งแต่ช่วงคอจรดแขน
  • กล้ามเนื้อชาและอ่อนแรง : เมื่อหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท จะส่งผลให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรง บริเวณมือ แขน ขา และเท้า
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ : ในเคสที่ไขสันหลังถูกกดทับขั้นรุนแรง ผู้ป่วยอาจสูญเสียการควบคุมการขับถ่าย

3 ระดับความรุนแรง หมอนรองกระดูกเสื่อม

ระดับความรุนแรงของโรค

  • ระยะแรก : เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อมสภาพ ในขั้นแรกจะทำให้มีอาการปวดหลังแบบเป็น ๆ หาย ๆ ก่อนที่ต่อมาอาการปวดหลังหมอนรองกระดูกเสื่อมจะหนักขึ้นและปวดเรื้อรัง
  • ระยะกลาง : หมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือปลิ้นออกมาเบียดเสียดหรือกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณช่วงคอลงไปถึงแขน หรือจากหลังลงมาถึงขาจรดเท้า และอาจมีอาการชาร่วมด้วย
  • ระยะรุนแรง : ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ชา และอ่อนแรงมากขึ้น เพราะเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส ซึ่งเสี่ยงต่อความพิการและต้องรีบทำการรักษาโดยด่วนที่สุด

หมอนรองกระดูกเสื่อม การรักษา

การรักษา ‘โรคหมอนรองกระดูกผิดปกติ’ มีวิธีใดบ้าง?

  • ลดน้ำหนักและเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง : เริ่มการรักษาด้วยการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลัง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
  • กายภาพบำบัด : เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ซึ่งจะบรรเทาอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่จะต้องใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังร่วมด้วยในการรักษา
  • ยา : เป็นยาลดการอักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อที่แพทย์สั่งจ่าย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหลังหมอนรองกระดูกอักเสบ
  • การผ่าตัด : หากการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทขั้นต้นไม่เป็นผล อีกทั้งผู้ป่วยยังมีอาการแย่ลงกว่าเดิม แพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งจะต่างกับการผ่าตัดทั่วไปตรงที่แผลมีขนาดเล็ก, ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย, ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยปราศจากอาการแทรกซ้อนใด ๆ นอกจากนี้การผ่าตัดผ่านกล้องไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบและไม่ต้องนอนห้องไอซียูหลังผ่าตัดอีกด้วย

หมอนรองกระดูกเสื่อม อาการ

ปัจจุบันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าอาการรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคโนโลยีและความชำนาญของทีมแพทย์ จึงช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ ลดการบาดเจ็บ รวมถึงไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน ฉะนั้นเมื่อพบว่ามีอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นระยะเริ่มต้น ให้รีบพบแพทย์โดยทันที!

 

เมื่อพบอาการผิดปกติที่กระดูกสันหลัง
อย่าปล่อยไว้หากแต่ให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. อนุรักษ์ เจริญทรัพย์
นพ. อนุรักษ์ เจริญทรัพย์
แพทย์ประจำศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์