Shopping Cart

No products in the cart.

ผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง Microscope VS Full Endoscopic แตกต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าใครหลายคนคงสงสัยว่า ทำไมการผ่าตัดหลังรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และภาวะโพรงประสาทกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท (Spinal Canal Stenosis) ระหว่างผ่านกล้อง Microscope กับกล้อง Full Endoscopic ถึงมีความแตกต่างกัน ทั้งที่ก็เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเหมือนกัน? โดยอันที่จริงแล้วในความเหมือนยังมีความต่างอยู่ แม้ว่าการผ่าตัดหลังทั้ง 2 แบบ จะเป็นการเปิดแผลเล็กเหมือนกัน หากแต่ขนาดของบาดแผล ระยะเวลาการพักฟื้น และผลลัพธ์ที่ได้หลังผ่าตัดนั้นต่างกันอย่างชัดเจน!!

ทางเลือกใหม่! การผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง พักฟื้นเร็ว แผลเล็ก และเจ็บน้อย

การนำกล้องมาใช้ร่วมกับการผ่าตัด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นโครงสร้างที่ไปกดทับเส้นประสาทได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดส่องกล้องขนาดใหญ่ กล้ามเนื้อจึงบอบช้ำน้อยและไม่เสียเลือดมากระหว่างทำการผ่าตัด เพียงแต่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแผลเล็กน้อย ใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็หายสนิทดี และสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง 2 แบบ แตกต่างกันอย่างไร

ความเหมือนที่แตกต่างของ กล้อง Microscope VS กล้อง Full Endoscopic

การผ่าตัดหลังผ่านกล้อง Microscope หรือ กล้องจุลทรรศน์ เป็นวิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ได้มาตรฐาน โดยจะตั้งกล้องนอกตัวผู้ป่วยเพื่อใช้ขยายภาพบริเวณที่ทำการผ่าตัด และแม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบเปิดที่แผลมีขนาดเล็กก็ตาม แต่ทว่าอาจต้องเลาะกล้ามเนื้อและกระดูกออกบางส่วนเพื่อให้เห็นจุดที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมากหรือเกิดอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้

ในขณะที่ การผ่าตัดผ่านกล้อง Full Endoscopic ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยจะใช้กล้องขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ที่ภายในมีระบบนำแสงพิเศษและมีช่องสำหรับสอดเครื่องมือ ทำการสอดเข้าในตัวผู้ป่วย ผ่านทางแผลที่มีขนาดเล็กราว 0.8-1 เซนติเมตร ทั้งยังไม่จำเป็นต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อออกแต่อย่างใด จึงช่วยลดการเสียเลือด ลดการบอบช้ำของเนื้อเยื่อ แผลผ่าตัดส่องกล้องใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็หายเป็นปกติ และที่สำคัญปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนแน่นอน!

กล้อง Full Endoscopic สามารถเข้าถึงจุดที่เป็นปัญหาได้ง่ายดาย โดยศัลยแพทย์จะมองภาพผ่านจอมอนิเตอร์ขณะทำการผ่าตัด ซึ่งช่วยขยายการมองเห็นโครงสร้างและต้นตอของปัญหาได้อย่างชัดเจน ทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ด้วยดี ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง Microscope VS Full Endoscopic

การผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง พักฟื้นเร็วด้วย Microscope และ Full Endoscopic เหมาะกับใคร

  • ผู้มีภาวะถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกทับเส้นประสาท
  • ผู้มีโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
  • ผู้มีภาวะโพรงประสาทบริเวณกระดูกสันหลังคับแคบทับเส้นประสาท (Spinal Canal Stenosis) ที่ไม่มีความผิดรูปของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกคด หรือ เคลื่อน ฯลฯ

ข้อดีของการผ่าตัดหลังด้วย ‘กล้อง Full Endoscopic’

  • แผลผ่าตัดส่องกล้องมีขนาดเล็ก
  • เจ็บเล็กน้อยและเสียเลือดไม่มาก
  • ผ่าตัดส่องกล้องพักฟื้นเร็วกว่าการผ่าตัดเปิดแผล
  • ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังผ่าตัดเสร็จ
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น

ผ่าตัดหลังแบบส่องกล้อง เหมาะกับใคร

เพื่อให้การผ่าตัดหลังเกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีในการรักษาควบคู่ไปกับความชำนาญของทีมแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการดูแลตนเองของผู้ป่วยก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน อาทิ การไม่ยกของหนัก, ไม่นั่งทางเดิมๆ เป็นเวลานาน, หลีกเลี่ยงการไอหรือจามรุนแรง และหมั่นออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง เป็นต้น

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์
นพ. วิวัฒน์ ชวาลภาฤทธิ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์