Shopping Cart

No products in the cart.

โรคมะเร็งเต้านม ภัยเงียบที่คุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

โรคมะเร็งเต้านม เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่คุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัย…โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เรามีศูนย์โรคเต้านมพร้อมให้บริการโดยทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคเต้านมโดยเฉพาะ และเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน (Primary Prevention) คุณผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังนี้

  • ลดการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (Unhealthy Diet)
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะอ้วน (Obesity)
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol Consumption)
  • ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย (Physical Inactivity)

เพราะหากไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง และเกิดฮอร์โมนไม่สมดุลได้ อย่างไรก็ตามการตรวจวินิจฉัย (Precise Diagnosis) ความผิดปกติทางพันธุกรรมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแบ่งเป็นดังนี้

1. กลุ่มเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
  • เป็นมะเร็งเต้านม อายุน้อยกว่า 50 ปี
  • เป็นมะเร็งเต้านมชนิด Triple negative
  • เป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
  • มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • เป็นมะเร็งเต้านมอายุ 46-50 ปี ร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่ง
    – ไม่ทราบประวัติครอบครัวว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่
    – เป็นมะเร็งเต้านม 2 ข้าง
    – ประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน เป็นมะเร็งเต้านม รังไข่ ตับอ่อน หรือต่อมลูกหมาก
  • เป็นมะเร็งเต้านมอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 51 ปี ร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่ง
  • ประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน ร่วมกับมีข้อใดข้อหนึ่ง
    – เป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี หรือ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย
    – มะเร็งรังไข่
    – มะเร็งตับอ่อน
    – มะเร็งต่อมลูกหมากชนิดแพร่กระจาย
  • ประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป เป็นมะเร็งเต้านมหรือต่อมลูกหมาก
  • ประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป เป็นมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม
2. กลุ่มเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ในคนที่มีประวัติครอบครัว
  • มีประวัติครอบครัวเป็นเหมือนข้างต้น
  • ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นเหมือนข้างต้น แต่ประเมินความเป็นได้ในการมียีน BRCA ผิดปกติมากกว่า 5% (เช่น Tyrer-Cuzick, BRCAPro, CanRisk)

4 วิธี การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งเต้านม

1. ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram)

การถ่ายภาพรังสี โดยปริมาณรังสีที่ใช้นั้นใกล้เคียงการเอกซเรย์ปอดทั่วไป มีความปลอดภัย สามารถให้รายละเอียดภาพรวมของเต้านมทั้งหมด สามารถวินิจฉัยรอยโรคที่เป็นหินปูนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้หรือซ้อนทับกัน สามารถตรวจพบรอยโรคของมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ในขณะที่ในผู้หญิงอายุน้อยที่มีความหนาแน่นของเต้านมสูง (Extremely Dense Breast) การตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถให้รายละเอียดได้ดีนัก ในทางปฏิบัติจึงต้องใช้อัลตราซาวนด์เต้านมร่วมด้วย

2.ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยอัลตราซาวนด์เต้านม (Ultrasound Breast)

การใช้คลื่นความถี่เหนือเสียงในการตรวจซึ่งปราศจากรังสีสามารถใช้ในเด็กและสตรีมีครรภ์ได้ สามารถแยกลักษณะของก้อน หรือถุงน้ำ หรือความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับผลึกหินปูนในเต้านม อาจไม่สามารถให้รายละเอียดเทียบเท่าดิจิตอลแมมโมแกรมได้

โรคมะเร็งเต้านม

3.ตรวจคัดกรองเต้านมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในลักษณะนี้แม้จะมีความไวของการตรวจที่สูง แต่ไม่ได้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่เหนือกว่าดิจิตอลแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์แต่อย่างใด จึงแนะนำให้ใช้ในรายที่มีปัญหาในการตรวจวินิจฉัย หรือใช้ตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งเต้านมเป็นหลัก

4.ตรวจวินิจฉัยและตรวจชิ้นเนื้อ (Diagnosis and Biopsy)

การตรวจทางพยาธิวิทยา ในรายที่ตรวจพบรอยโรคในเต้านมที่มีความสงสัย การตรวจชิ้นเนื้อคือการตรวจที่แม่นยำว่ารอยโรคที่เห็นนั้นคืออะไร ใช่มะเร็งหรือไม่

โรคมะเร็งเต้านม

กรณีตรวจพบความผิดปกติของเต้านมจากอัลตราซาวนด์

Ultrasound Guided Core Needle Biopsy โดย รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเต้านม เป็นการนำรอยโรคขนาดเล็กออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา โดยอาศัยเครื่องอัลตราซาวนด์ในการหาตำแหน่งที่ผิดปกตินั้น มีระบบอ่านผลชิ้นเนื้อโดยพยาธิแพทย์ใน 24 ชั่วโมง

กรณีตรวจพบความผิดปกติจากแมมโมแกรม

Stereotactic Guided Biopsy โดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเต้านม เป็นการนำรอยโรคขนาดเล็กออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา โดยมากมักเป็นหินปูนที่ผิดปกติ โดยอาศัยเครื่องเอกซเรย์ในการหาตำแหน่งที่ผิดปกตินั้น มีระบบอ่านผลชิ้นเนื้อโดยพยาธิแพทย์ใน 24 ชั่วโมง

โรคมะเร็งเต้านม

วิธีการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ทางการแพทย์ (Personalized Medicine)

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัด (Surgery)

การผ่าตัดรักษาและเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบออนโคพลาสติก (Oncoplastic Surgery) เป็นเทคนิคการผสมผสานการผ่าตัดมะเร็งเต้านมกับการทำศัลยกรรมตกแต่งเข้าด้วยกัน เพื่อคงประสิทธิภาพการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดได้สูงสุด โดยที่ยังคงความสวยงามของเต้านมได้ใกล้เคียงเดิม ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้

1.ผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast Conserving Surgery)

ในกรณีขนาดก้อนเล็กไม่มีการกระจายของก้อนหรือหินปูนที่ผิดปกติทั่วเต้านม และในกรณีก้อนมะเร็ง 2-3 ก้อน หรือก้อนขนาดใหญ่ที่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ คือการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกแล้วตามด้วยการฉายรังสีรักษา โดยใช้หลักการผ่าตัด Oncoplastic คือการผ่าตัดแบบสงวนเต้า โดยมีการพิจารณาย้ายเนื้อไขมันจากบริเวณข้างๆ เข้ามาปิดแทนช่องว่างที่ตัดมะเร็งออกไป หรือการผ่าตัดยกกระชับหรือ ลดขนาดเต้านมทั้งสองข้างให้สมดุลกันทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายในบางกรณีมะเร็งบางชนิดอาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด จะทำร่วมกับรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเต้านม ทำการวางคลิป(Clip)ที่ตัวก้อนมะเร็งเพื่อติดตามรอยโรคระหว่างให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดด้วย

2.ผ่าตัดเต้านมทั้งหมด (Mastectomy with Reconstruction)

ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ และการเสริมสร้างเต้านมด้วยถุงเต้านมเทียม (Implant-Based Reconstruction) หรือเนื้อเยื่อของตนเอง (Autologous Reconstruction) ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

3.การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลที่รักแร้

เป็นการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองต่อมแรก แล้วนำไปตรวจว่ามีมะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการเลาะต่อมน้ำเหลืองเท่าที่จำเป็น ซึ่งสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังการผ่าตัด เช่น แขนบวม หรืออาการชาของแขนได้ โดยมีการฉีดสาร Isosulfan Blue หรือ Indocyanine Green ช่วยเพิ่มความแม่นยำในมะเร็งระยะแรก และ ในกรณีมะเร็งเต้านมขนาดใหญ่และกระจายต่อมน้ำเหลือง ที่วางแผนผ่าตัดหลังให้ยาเคมีบำบัดครบ จำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล เช่น สาร Isosulfan Blue และ Indocyanine Green ร่วมกัน โดยสามารถตรวจจับต่อมน้ำเหลืองที่ติดสี Indocyanine Green ด้วยกล้องฟลูออเรสเซนซ์

การรักษาเสริมด้วยการให้ยา (Systemic Treatment)
และ การฉายแสง (Radiation Therapy)

ประกอบด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ยาต้านฮอร์โมน (Hormonal therapy) ยาพุ่งเป้า (Targeted therapy) โดยอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา (Medical oncologist) และการรักษาด้วยการฉายแสง (Radiotherapy) โดยแพทย์รังสีรักษา ด้วยเครื่องรังสีรักษา Vitalbeam นวัตกรรมการฉายรังสีแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค ตัวรับฮอร์โมน อายุและชนิดของการผ่าตัด นอกจากนี้การเลือกการรักษายังต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี ผลข้างเคียงของการรักษา โรคประจำตัวของผู้ป่วย ความสวยงาม และความต้องการของผู้ป่วยร่วมด้วย

โรคมะเร็งเต้านม

การฟื้นตัวและลดภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา โรคมะเร็งเต้านม (Enhanced health)

กายภาพบำบัดโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Medicine & Rehabilitation) (PM&R) เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ฉายแสง หรือเคมีบำบัด เช่นภาวะแขนบวม ข้อไหล่ติด เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม ไม่สูญเสียภาพลักษณ์ และลดความวิตกกังวลจะเห็นได้ว่าแนวทางการรักษาด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นการทำงานร่วมกันกันเป็นทีมเพื่อเป้าหมายที่สำคัญคือ ประสิทธิภาพการรักษาคนไข้ที่ดีขึ้น

โรคมะเร็งเต้านม

จุดเด่น ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (Excellent Breast Cancer Center)

โรคมะเร็งเต้านม

1. การตรวจชิ้นเนื้อ (Tissue Biopsy) โดยแพทย์เฉพาะทาง Radio-Intervention และมีระบบรายงานผลภายใน 24-48 ชั่วโมง

 2. การผ่าตัดรักษาเต้านมแบบสงวนเต้านม (Breast Conserving Surgery) แม้มีรอยโรค 2-3 จุดที่อยู่ใกล้กันก็ไม่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด โดยใช้เทคนิค Oncoplastic Surgery และวางแผนร่วมกับ แพทย์รังสีวินิจฉัย (Radiologist and Interventional Radiologist) ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด และหากไม่สามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ ยังมีทางเลือกในการผ่าตัดแบบเสริมเต้านม อีกทั้งยังมีการรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy) ด้วยเครื่อง Vital beam ซึ่งสามารถให้ผลการรักษาดีที่สุด

 3. มีทีมอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา (Medical Oncologist) ที่จะวางแผนการรักษาเสริมหลังการผ่าตัด หรือก่อนผ่าตัด

4. รวมถึงแพทย์กายภาพบำบัด (Physical Medicine & Rehabilitation) ที่มีโปรแกรมฟื้นฟูหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงเดิมมากที่สุด

5. เครื่องรังสีรักษา Vitalbeam

โรคมะเร็งเต้านม

5.1 สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า (mastectomy) และตรวจพบต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลเป็นบวก (SLNB positive) หรือ ตรวจพบว่ามีการลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ด้วยประสิทธิภาพของเครื่องรังสีรักษา Vital beam ที่สามารถฉายรังสีที่รักแร้แทนการเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ ทำให้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและภาวะแขนบวม

5.2 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast Conserving Surgery) และตรวจพบต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลเป็นบวก (SLNB positive) หรือ ตรวจพบว่ามีการลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล โดยทั่วไปจะต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ด้วยเครื่องรังสีรักษา Vital beam ที่สามารถฉายรังสีที่รักแร้แทนการเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ ทำให้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและภาวะแขนบวม

ศูนย์โรคเต้านม

ชั้น 3 โรงพยาบาลไทยนครินทร์

มะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ อ่านต่อ>

ตรวจแมมโมแกรม คัดกรองมะเร็งเต้านม อ่านต่อ>

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
พญ.พุทธิพร  เนาวะเศษ
พญ.พุทธิพร เนาวะเศษ
ศัลยศาสตร์ทั่วไป และศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา (Surgery,Surgical Oncology)
ข้อมูลแพทย์