Shopping Cart

No products in the cart.

ภาวะแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายไต ป้องกันได้ด้วยตนเอง

ภาวะแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายไต  อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากการเตรียมความพร้อมและรับรู้วิธีการป้องกันภาวะดังกล่าวอย่างถูกวิธี

ซึ่งนี่เป็นความเสี่ยงที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ เพราะหากจะบำบัดด้วยการฟอกเลือด หรือยอมเสี่ยงติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องเอง ก็เป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิตอยู่พอสมควร ทว่าภายหลังจากที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ แม้อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่บ้าง แต่บอกได้เลยว่า ผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น พึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้อีกครั้งอย่างที่ใจปรารถนา

 

 

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต

  • ภาวะแทรกซ้อนทางด้านอายุรกรรม : เกิดจากการติดเชื้อ การปฏิเสธของอวัยวะ (Kidney Rejection) และการกลับมาเป็นโรคไตซ้ำอีกหน
  • ภาวะแทรกซ้อนทางด้านศัลยกรรม : มีสาเหตุเกิดจากเลือดออกภายหลังการผ่าตัดไต ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดไตตีบหรือตัน จากท่อปัสสาวะรั่ว และการคั่งของน้ำเหลืองภายหลังการปลูกถ่ายไต

สังเกตอาการที่บ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไต

อาการแทรกซ้อนมักเกิดจากหลายสาเหตุ โดยหลัก ๆ แล้วได้แก่ การที่แผลผ่าตัดไตติดเชื้อ หรือผู้ป่วยรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ภายหลังจากที่ออกโรงพยาบาลไป ทั้งนี้เมื่อพบความผิดปกติ เช่น มีไข้ขึ้น ปวดแผลผ่าตัด ปัสสาวะออกน้อยลงหรือไม่ออกเลย รวมไปถึงค่าไตเพิ่มสูงขึ้น ฯลฯ โดยอาการข้างต้นจะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ถ้าไม่รีบเข้ารับการรักษา ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียไตใหม่ที่เพิ่งปลูกถ่าย หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และต้องหมั่นคอยสังเกตอาการความผิดปกติของร่างกาย เพื่อที่เมื่ออาการดังกล่าวปรากฏขึ้น ผู้ป่วยจะได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้ดูแลอย่างทันท่วงที ก่อนที่ไตใหม่จะเสียหายไปมากกว่านี้

ภาวะแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายไต

แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต

เมื่อการปลูกถ่ายไตเสร็จสิ้นและผู้ป่วยได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว แพทย์ผู้ดูแลจะนัดพบเป็นครั้งคราว เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดพร้อมกับให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเองขณะรักษาตัวที่บ้าน โดยผู้ป่วยควรจะสังเกตอาการความผิดปกติและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง

นอกจากนี้อาจมีบ้างที่ผู้ป่วยต้องปรับจำนวนและชนิดของยาไปตามอาการ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคไต จะให้การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ในเร็ววัน

ศูนย์ปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลไทยนครินทร์

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
รศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล
ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์