Shopping Cart

No products in the cart.

อันตรายจาก ‘เสียงดัง’

ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ล้วนแวดล้อมไปด้วยเสียงดังต่างๆ เช่น เสียงการจราจร เสียงรถบรรทุก เสียงประทัด เสียงเครื่องจักร เสียงตอกเสาเข็ม เป็นต้น เสียงดังกล่าวจะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทีละน้อยอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ระยะเวลานานเป็นปีๆ จึงจะสังเกตเห็นได้ชัด และมักจะไม่มีอาการอะไร ยกเว้นในกรณีที่ได้รับฟังเสียงดังมากอย่างทันที

 

 

กลไกการได้ยินเสียง

การได้ยินเสียงของคนเรานั้นเริ่มต้นเมื่อมีคลื่นเสียงจากการสั่นสะเทือนของอากาศผ่านเข้ามาในหูชั้นนอก และเข้าไปกระทบเยื่อแก้วหูทำให้เกิดการสั่นของเยื่อแก้วหู และผ่านการสั่นสะเทือนต่อไปยัง กระดูกรูปฆ้อน กระดูกรูปทั่ง และกระดูกรูปโกลนในชั้นหูกลาง กระดูกรูปโกลนติดต่ออยู่กับก้นหอยของหูชั้นใน จะส่งผ่านการสั่นสะเทือนเข้าไปในหูชั้นใน ซึ่งมีของเหลวและเซลล์ขนอยู่ การสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า และถูกส่งผ่านเซลล์ขนไปสู่เส้นประสาทหูไปยังสมองเพื่อให้เกิดการรับรู้ และแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน

อันตรายจาก เสียงดัง

การได้รับเสียงดังๆ เป็นระยะเวลานานๆ บ่อยๆ จะทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในหรือเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลายให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาววร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การสูญเสียการได้ยินจากการได้รับเสียงดังๆ สามารถป้องกันได้โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง เช่น EAR PLUGS หรือ EAR MUFFS

อาการบ่งชี้ถึงภาวะที่อาจจะมีการ ‘สูญเสียการได้ยิน’ จากการได้รับ ‘เสียงดัง’

  1. ในขณะที่อยู่ในที่มีเสียงดังๆ ไม่สามารถพูดจาติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยความดังของเสียงพูดธรรมดา หรือหลังจากที่ได้ยินเสียง ดังๆ มีอาการของการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว
  2. หูอื้อ ได้ยินเสียงลดลง หรือไม่ได้ยินเสียงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
  3. มีเสียงดังรบกวนในหู

อันตรายจาก เสียงดัง

อาการดังกล่าวข้างต้นจะดีขึ้น หรือหายไปใน 1-2 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน หลังจากได้รับเสียงดัง แต่ถ้ายังได้รับฟังเสียงดังซ้ำๆ บ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเสียงแบบถาวร หรือในกรณีเสียงที่ดังมากๆ เพียงครั้งเดียวก็ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินถาวรได้ เช่น เสียงระเบิด

 

เสียงดังๆ นอกจากส่งผลต่อการได้ยินแล้ว
ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอีกด้วย
รบกวนสมาธิ ความเครียด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
บางครั้งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
และรบกวนต่อการทำงานในร่างกาย
เช่น ระบบไหลเวียนของเลือด
ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น

 

อันตรายจาก เสียงดัง

การได้ยิน

  1. ความดังของเสียง
  2. ระยะเวลาที่ได้รับเสียง
  3. ชนิดของเสียง

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสียงดังทุกประเภท
  2. ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกัน
  3. จำกัดระยะเวลาในการสัมผัสกับเสียงดังให้น้อยที่สุด
  4. ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน
  5. ตรวจการได้ยินอย่างน้อยปีละครั้ง
  6. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับหู ควรพบแพทย์
  7. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

อันตรายจาก เสียงดัง

ปัจจัยเสริมที่ทำให้มีการสูญเสียการได้ยิน

  1. ความไว หรือความทนต่อเสียงของแต่ละบุคคล
  2. อายุ
  3. โรคหูอื่นๆ
  4. สภาพแวดล้อมของแหล่งเสียง
  5. โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ. สดมภ์ เพียรพินิจ
นพ. สดมภ์ เพียรพินิจ
หัวหน้าแพทย์ประจำสาขาหู คอ จมูก โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ข้อมูลแพทย์