ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการในสำนักงาน (Contributing Factors of Office Syndrome)
- Poor Ergonomics หรือท่าการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ ปัจจัยที่ตัวบุคคล เช่น การนั่งหลังค่อมหน้ายื่น โต้ะ เก้าอี้ ที่ไม่เหมาะสมกับการนั่งนานๆ การวางแท่นพิมพ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ตำแหน่งที่ดี
- งานด่วน ยุ่งตลอดทั้งวัน หาเช้ากินค่ำ
- รับโทรศัพท์ทั้งวัน
- ความเครียด
- ทำงานนั่งโต๊ะ (Sedentary Workers)
- นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
- มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วไปมา
- สำนักงานสมัยใหม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมปิด
กลุ่มอาการปวดที่เกิดจากการทำงานในสำนักงาน Office Syndrome, Office Aches
- อาการปวดคอ ปวดไหล่
- ปวดศอกและข้อมือ
- มือชา
- นิ้วติดนิ้วล็อค (Trigger Finger) จากการใช้ Mouse
- ปวดหลัง, บริเวณบั้นเอวและหลังช่วงล่าง
- ปวดศีรษะ ปวดท้ายทอย
- นอนไม่หลับ
การดูแลรักษา Office Syndrome
- ตระหนักถึงปัญหา สาเหตุ และเน้นการป้องกัน
- การพักเป็นช่วงๆ
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ
- การปรับเปลี่ยน Ergonomics ให้เหมาะสมกับสภาวะงานแต่ละอย่าง
- การออกกำลังกาย ได้แก่
– การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Streching Exercise)
– การเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ (Strengthening Exercise
– การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ Jogging หรือปั่นจักรยาน (Aerobic Exercise)
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ
- หลีกเลี่ยงการก้มเงย หรือเอี้ยวบิดที่มากเกินไป
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำซ้ำๆ และเป็นสาเหตุของอาการปวด เช่น การยกของหนัก
- คิดก่อนที่จะทำ เช่น หากต้องยกของหนัก ควรย่อแล้วยก เกร็งหลังและหน้าท้อง ไม่ก้มยกแบบเร็วๆ ควรใช้อุปกรณ์ หรือคนช่วย
- ปรับโต๊ะ เก้าอี้ จอคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ให้เหมาะสม
- นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลัง
- ที่นอนที่แน่นแข็งพอประมาณ (Firm) ไม่ยวบจม เป็นแอ่ง
- บริหารยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ
สัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์
- มีประวัติอุบัติเหตุรุนแรงมาก่อน
- ผู้สูงอายุ
- มีภาวะกระดูกพรุน
- มีโรคประจำตัว เช่น มะเร็ง มีประวัติโรคติดเชื้อนำมาก่อน กินยาชุด สมุนไพร ยาหม้อ สเตียรอยด์ หรือยาหลายชนิดเป็นประจำ โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
- ดูแลตนเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น
- กระดูกสันหลังผิดรูป เอียง คด ค่อม
- ปวดมาก นอนพักไม่หาย หรือปวดมากตอนกลางคืน
- มีอาการชามือ ชาแขน ชาขา ชาเท้า ชารอบก้น
- แขน/ขา/มืออ่อนแรง
- อุจจาระปัสสาวะไม่ออก เล็ดราด
- ปวดเรื้อรัง และมากขึ้นเรื่อยๆ
การักษาและป้องกัน
- การป้องกัน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และปรับเปลี่ยนสภาวะสิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน หรือกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ
- การรักษา
– ยา : ได้แก่ กลุ่มลดปวด คลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ (ควรทานยาตามคำสั่งแพทย์)
– การประคบเย็น หรือร้อน เบื้องต้นตามสถานการณ์
– การยืดเหยียดบริหารกล้ามเนื้อ แต่ละส่วน
– หากทำทั้งหมดดังกล่าวไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาและการกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ หรือเทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล